การจัดการกำไรของบริษัทที่ถูกควบรวมกิจการ: หลักฐานเชิงประจักษ์ จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ศิรดา จารุตกานนท์
อัจจิมา บุญบำรุง

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการกำไรบริษัทที่ถูกควบรวมกิจการโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ถูกควบรวมกิจการระหว่างปีพ.ศ.2550-2558จำนวนทั้งสิ้น 91 บริษัท
ผู้วิจัยทดสอบการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างที่อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารโดยใช้ตัวแบบ The Modified Jones (1995)
ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดค่ารายการคงค้างที่อยู่ในดุลยพินิจของด้วย วิธีอนุกรมเวลา (Time series method)
จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
        ผลการศึกษาพบว่า บริษัทที่ถูกควบรวมกิจการมีการจัดการกำไรผ ่านรายการคงค้างในปีที่ถูกควบรวมกิจการ
โดยพบว่ามีการจัดการกำไรในทิศทางที่ลดลง อาจเป็นเพราะผู้บริหารต้องการให้ผลการดำเนินงานในปีหลังจากที่ถูกควบรวม
กิจการมีผลการดำเนินงานที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้กำไรของบริษัทที่ควบรวมสูงขึ้นในปีถัดไป ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นการดำเนินงานที่ดี
ขึ้นภายหลังจากการควบรวมกิจการ ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับผลวิจัยของ Zucca and Campbell (1992)

Article Details

บท
บทความวิจัย