การศึกษาแนวทางการลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิลในกระชัง กรณีศึกษากระชังปลานิลในจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการเลี้ยงปลาในกระชังของกิจการและต้นทุนการเลี้ยงปลาในกระชังตามแบบจำลองสถานการณ์การลดต้นทุน ด้วยการใช้อาหารสัตว์แทนอาหารเม็ดสำเร็จรูป โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงปลา 3 กิจการ ได้แก่ กิจการที่ 1 ผู้เลี้ยงปลา 50 กระชัง กิจการที่ 2 ผู้เลี้ยงปลา 30 กระชัง และกิจการที่ 3 ผู้เลี้ยงปลา 20 กระชัง และข้อมูลทุติยภูมิเพื่อคำนวณต้นทุนการเลี้ยงปลาตามกระบวนการเลี้ยงปลา 2 กระบวนการหลัก ได้แก่ กระบวนการสร้างโครงแพและกระชัง และกระบวนการเลี้ยงปลา ซึ่งประกอบด้วย การเลี้ยงปลาขนาด 100-200 กรัม และการเลี้ยงปลาขนาดตลาด ผลการศึกษา พบว่า ต้นทุนการเลี้ยงปลาด้วยอาหารสัตว์ของทั้งสองกิจกรรมการเลี้ยงต่ำกว่าต้นทุนการเลี้ยงปลาด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูป ในกิจกรรมการเลี้ยงปลาขนาด 100-200 กรัม ต้นทุนการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปของกิจการที่ 1 กิจการ 2 และกิจการที่ 3 ดังนี้ 348,000 บาท/50 กระชัง, 204,600 บาท/30 กระชัง และ 93,600 บาท/20 กระชัง ตามลำดับ ซึ่งการเลี้ยงปลาด้วยอาหารสัตว์ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงลดลงร้อยละ 38.82, 42.42, และ 34.21 ตามลำดับ ในกิจกรรมการเลี้ยงปลาขนาดตลาดต้นทุนการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปของกิจการที่ 1 กิจการ 2 และกิจการที่ 3 ดังนี้ 1,344,000 บาท/50 กระชัง369,600 บาท/30 กระชัง และ 280,800 บาท/20 กระชัง ตามลำดับ การเลี้ยงปลาด้วยอาหารสัตว์ทำให้ต้นทุนลดลงร้อยละ 40.14, 39.31, และ 34.33 ตามลำดับ
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์