ทัศนคติการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ธิดารัตน์ ปสันน์สิริคุณ
จิราภา พึ่งบางกรวย

บทคัดย่อ

           งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดชลบุรี และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมการตั้งใจซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดชลบุรี เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95


          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 342 คน มีอายุ 21 – 25 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีระดับรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ประชาชนที่ซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทาง เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ ไลน์ และอินสตาแกรม ส่วนใหญ่ซื้อเสื้อผ้า เครื่องประดับ วัตถุประสงค์ในการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์เพราะต้องการความสะดวก จะทำการซื้อที่บ้าน มีช่องทางชำระเงินโดยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร มีความถี่ในการซื้อเดือนละครั้ง ชอบลักษณะการรีวิวที่มีการบอกข้อมูลครบถ้วน ชอบการโต้ตอบของพนักงานที่มีความเต็มใจในการตอบคำถาม จำนวนเงินเฉลี่ยที่ซื้อแต่ละครั้งอยู่ที่ 501 – 1,000 บาท อีกทั้งผลการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ระดับของทัศนคติทางด้านความเข้าใจและความรู้สึกอยู่ในระดับมาก และทัศนคติทางด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนั้นผลการศึกษายังพบว่าทัศนคติด้านพฤติกรรมมีผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมที่มีความตั้งใจซื้ออีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลธชา พลีสิงห์. (2554). ทัศนคติของผู้ใช้เฟสบุ๊คต่อพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธิติมา พัดลม. (2558). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนฟู้ดส์ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา, 4(2), 6-21.
ธงชัย สันติวงษ์. (2535). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชย์.
นงรัก บุญเสริฐ. (2554). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ประเภทสินค้าอุปโภค: กรณีศึกษา บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ และ เทสโก้โลตัส ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ในจังหวัดอุบลราชธานี. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุษยพงศ์ มุสิกไชย. (2552). ทัศนคติที่มีผลต่อการบริโภคขนมไทยของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปิยวรรณ ไกรเลิศ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อบริการสายการบิน ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสายการบินไทยสมายล์และสายการบินไทยแอร์เอเชีย เส้นทางกรุงเทพฯ-กระบี่. งานนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ปทุมธานี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิศุทธิ์ อุปถัมภ์. (2556). ความไว้วางใจและลักษณะธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภาคใต้ตอนล่างประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 13(2), 145-153.
วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตา แกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วีระนุช รายระยับ. (2556). พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าจากสื่ออินเทอร์เน็ตในกลุ่มวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2553) สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2540).การส่งเสริมการขาย การตลาด การประชาสัมพันธ์ โฆษณา. กรุงเทพฯ. ไดมอนด์ อิน บิสซิเนส เวิร์ด.
สุภาพร ชุ่มสกุล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวัชรีย์ เดชาธรอมร. (2554). ความรู้และทัศนคติของบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิชาติ เทศสวัสดิวงศ์. (2553). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินบนมือถือของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.