หลักสูตรการท่องเที่ยวและการโรงแรมใน สปป.ลาว: กระบวนการจัดการเรียนการสอนและปัญหาในปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหากระบวนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการท่องเที่ยวและการโรงแรม ทั้งในระดับปริญญาตรีและอาชีวศึกษาใน สปป.ลาว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและอาชีวศึกษา สถาบันละ 5 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน อาจารย์ประจำหลักสูตร 2 คน และนักศึกษา 2 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน จากมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต และสถาบันการท่องเที่ยวและบริการแห่งชาติลาว
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาของหลักสูตรการท่องเที่ยวและการโรงแรมทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับอาชีวศึกษา พบระดับปริญญานั้นเน้นการสอนด้านทฤษฎี การวิจัยเป็นหลัก อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิไม่ตรงกับหลักสูตร ขาดเงินทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน ช่วงเวลาในการฝึกงานของนักศึกษาสั้น และภาคธุรกิจเปิดรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์น้อย ขณะที่หลักสูตรอาชีวศึกษาพบว่า หลักสูตรเน้นการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารต่างประเทศเป็นหลัก ทว่านักศึกษาขาดทักษะการอ่านตำราภาษาต่างประเทศ และระยะเวลาในการฝึกประสบการณ์มีระยะเวลาที่จำกัดไม่เพียงพอต่อการพัฒนาความรู้
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
ทิศนา แขมมณี. 2551. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิติธร ปิลวาสน์. สอนลูกเรื่องการบริโภคอาหาร. 2557. สืบค้นวันที่ 29 มีนาคม 2557, สืบค้นจาก http://taamkru.com/th/สอนลูกเรื่องความตระหนักรู้ทางสังคม
ອົງການທ່ອງທ່ຽວແຫ່ງຊາດ. 2011. ການບໍລິຫານການທ່ອງທ່ຽວ. ໂຄງການການພັດທະນາທ່ອງທ່ຽວແບບຍືນຍົງ. ວຽງຈັນ: ສໍານັກນາຍົກລັດມົນຕີ.
Australian Curriculum, Assessment, and Reporting Authority. 2013. The Shape of the Australian Curriculum Version 4.0. Sydney: ACARA Copyright Administration,
ACARA Level 10.
Chasane, Saysavath. (February 15, 2017). Director. Lao National Institute of Tourism and Hospitality. Interview.
Jaleunphonh, Souvanny. (February 15, 2017). Deputy Director CIEH Accredited Trainer. Lao National Institute of Tourism and Hospitality. Interview.
Lao National Tourism Administration. 2009. 2009 Statistical Report on Tourism in Laos. Vientiane: Planning and Cooperation Department Statistics Unit.
Mixaykone, Khanthaly. (February 13, 2017). Faculty of Economic and Tourism .Souphanouvong University. Interview.
Phetxaysy, Khamphou. (February 13, 2017). Faculty of Social Sciences. Souphanouvong University. Interview.
Phoummavong, Sangthong. (February 13, 2017). Faculty of Social Sciences. Souphanouvong University. Interview.
Sijongxay, Sangthong. (February 13, 2017). Faculty of Economic and Tourism. Souphanouvong University. Interview.
Sourivong, Nisaxonh. (February 15, 2017). Head of Quality and Standards. Lao National Institute of Tourism and Hospitality. Interview.
Soybounphanh, Lavanh. (February 15, 2017). Deputy Director. Lao National Institute of Tourism and Hospitality. Interview.
Thanongsack, Yingxong. (February 13, 2017). Faculty of Economic and Tourism. Souphanouvong University. Interview.
Vongkeo, Somphone. (February 17, 2017). Faculty of Bussiness Administration. Savannakhet University. Interview.
Xayvongsa, Lamphoune. (February 13, 2017). Faculty of Economic and Tourism. Souphanouvong University. Interview.