รูปแบบอิทธิพลของปัจจัยการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมของผู้บริหารองค์การ ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยลักษณะการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรม ประสิทธิผลการทำงานอันเกิดจากการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรม และปัจจัยการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมที่มีต่อรูปแบบการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมของผู้บริหารองค์การ ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 320 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และดำเนินการส่งให้แก่ผู้บริหารแต่ละองค์การทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนทั้งสิ้น 277 ชุด จากจำนวนแจกทั้งหมด 320 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลระหว่างปัจจัยด้วยเทคนิคการวัดเส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารองค์การในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เห็นด้วยกับปัจจัยการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรม ด้านสภาพแวดล้อมและด้านคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน สำหรับการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมและประสิทธิผลการทำงานที่เกิดจากการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมมีอิทธิพลต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรม นอกจากนี้การถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการทำงาน
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
ก้องกิตติ์ พงศ์อุดม. (2554). การถ่ายโอนการเรียนรู้ในการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสอดคล้องทางกลยุทธ์ในฝ่ายขาย : กรณีศึกษาของบริษัทน้ำมันรำข้าวข้ามชาติกับผู้จัดจำหน่ายไทยในธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการวิเคราะห์และการสร้างตัวแบบธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล.
ชาญชัย สุรชีพ. (2552). การศึกษาแบบจำลองการถ่ายโอนความรู้ระหว่างองค์กร กรณีศึกษา : บริษัทตัวแทนเครื่องมือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2551). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณฐวรรณ เมธรุจภานนท์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้ภายหลังการฝึกอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2544). การประเมินผลงานฝึกอบรม: การตรวจสอบความสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธีระป้อมวรรณกรรม.
ดารารัตน์ ศรีธรรมพินิจ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมในหลักสูตรระยะยาวของพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกการบริหารโรงพยาบาล, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทรงพล ศรัทธาอุดม และ เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร. (2557). ความสัมพันธ์ของกระบวนการฝึกอบรม คุณลักษณะเฉพาะบุคคล และสภาพแวดล้อมการทำงานกับการถ่ายโยงการฝึกอบรมในธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33(5), 148-157.
ธงชัย สมบูรณ์. (2549). การบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร. กรุงเทพฯ: ปราชญ์สยาม.
ธวัช ธนสมบูรณ์. (2556). การถ่ายโอนการฝึกอบรมจากชั้นเรียนสู่สถานประกอบการ : กรณีศึกษา มูลนิธิสถาบันการพูดแบบการฑูตและศูนย์พัฒนาศักยภาพมนุษย์.สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
พิชัย เสงี่ยมจิตต์. (2549). การจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญา. วารสารพิชญทรรศน์, 1(1), 101-119.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.
พิเชษฐ เชยเอี่ยม. (2550). การถ่ายโอนการเรียนรู้ในการฝึกอบรม กรณีศึกษากลุ่มวังขนาย. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภัทรีย์ธร วิจิตรณัฐฐากุล. (2559). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานต่อความผูกพันองค์การของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้รับรางวัลแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการดีเด่น นิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, คณะการจัดการและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2551). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม.กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นติ้ง.
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ นุศ และ จิตวิชา มัลลิกาอุดมสิน. (2558). การถ่ายโอนการเรียนรู้และปัจจัยสิ่งแวดล้อมของพยาบาลที่สำเร็จจากการฝึกอบรมในหลักสูตรเฉพาะทาง.วารสารพยาบาล, 42(4), 120-132.
ศราวุธ ชาติโยธิน. (2550). การถ่ายโอนการเรียนรู้ในการฝึกอบรม.กรุงเทพฯ : สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุจิตรา ธนานันท์. (2552). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.
สุธินี ฤกษ์ขำ. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หลักการและเหตุผล.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมินทร เบ้าธรรม. (2555). ประสิทธิผลในการทำงานของผู้ทำบัญชีไทย ผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 31(1), 142-153.
อธิภัทร มุทิตาเจริญ. (2559). แรงจูงใจทางภาษี ไทยอยู่ตรงไหนในอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559, สืบค้นจาก http://thaipublica.org/2016/02/athiphat-2/.
อมตะคอร์ปอเรชั่น. (2559). ข้อมูลเกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559, สืบค้นจาก http://www.amata.com/thai/industrial_amata_etate.html.
อรุณวดี นันทวัฒนานุกูล. (2558). โมเดลการบริหารจัดการคนเก่ง คนดี ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์.วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 4(1), 55-71.
อุรารัตน์ วงศ์ศิลป์. (2547). การจัดการความรู้.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง,6, 11-16.
Anjali B. & Mahima T. (2013). The Impact of Perception of Organizational Transfer Climate Factors and Trainees’Characteristics on Training Transfer: The Context of Mergers and Acquisitions. Journal of International Business and Economics, 1(1), 50-66.
Grossman R. & Salas E. (2011). The transfer of training: what really matters. International Journal of Training and Development, 15(2), 103-120.
Nizam A. M..(2012).The Relationship Training Transfer between Training Characteristic, Training Design and Work Environment. Human Resource Management Research, 2(2), 1-8.