วิเคราะห์ปัจจัยความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทย

Main Article Content

ปราณี ตปนียวรวงศ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทย ใช้แนวคิด CAMEL Analysis และสกัดปัจจัยความมั่นคงทางการเงิน โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ปัจจัย Factor Analysis ประชากรคือข้อมูลงบการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทย รวม 16 จังหวัด 170 สหกรณ์ เลือกตัวอย่างโดยวิธีการเจาะจงเลือกจากข้อมูลงบการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกรอบของประชากร ได้ตัวอย่างจำนวน 158 สหกรณ์


        ผลการวิเคราะห์ปัจจัย พบว่าค่าเฉลี่ยอัตราส่วนทางการเงินสามารถสรุป ปัจจัยความมั่นคงทางการเงินได้ 5 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) ความพอเพียงของเงินทุน 2) คุณภาพของสินทรัพย์ 3) ความสามารถในการบริหาร                4) ความสามารถในการหารายได้และ 5) สภาพคล่อง โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยได้ ร้อยละ 81.90 ผลการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทย พบว่ามีค่าเฉลี่ยดีกว่าค่าเฉลี่ยของสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ ในมิติของความพอเพียงของเงินทุน คุณภาพของสินทรัพย์ และสภาพคล่อง ส่วนมิติความสามารถในการหารายได้นั้น มีค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ และมิติความสามารถในการบริหารยังมีอัตราส่วนที่ต่ำกว่า ได้แก่ เงินออมต่อสมาชิกและกำไรต่อสมาชิก


        ผลการวิเคราะห์เพื่อสร้างตัวแปรจำแนก (discriminant variate) ด้วยวิธี Stepwise Method พบว่า    ตัวแปรที่สามารถใช้ในการสร้างสมการจำแนกกลุ่มความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยได้ มีจำนวนเพียง 3 ตัวแปรที่สามารถจำแนกประเภทได้ดีที่สุด ประกอบด้วย ตัวแปรในมิติความพอเพียงของเงินทุน คือตัวแปรอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ มีค่า Wilks' Lambda เท่ากับ .678 และตัวแปรในมิติของสภาพคล่อง 2 ตัวแปร คือ อัตราการเติบโตของทุนสำรอง และอัตราการเติบโตของทุนสะสมอื่น โดยมีค่า Wilks' Lambda เท่ากับ .531 และ .481 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3 ตัวแปร


        ผลการทดสอบความถูกต้องของสมการการจำแนกเพื่อใช้ในการพยากรณ์ความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย พบว่า สมการการวิเคราะห์สามารถจำแนกกลุ่มสหกรณ์ที่ไม่มีความมั่นคงทางการเงินได้ถูกต้องร้อยละ 83.3 ในขณะที่การจำแนกกลุ่มที่มีความมั่นคงทางการเงินได้ถูกต้องร้อยละ 98.7 ความถูกต้องของสมการโดยรวมเท่ากับ ร้อยละ 98.1

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2559). สารสนเทศน่ารู้ทางการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ ประจำปี 2559. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2560,
สืบค้นจาก https://statistic.cad.go.th/main.php?filename=prospectus.
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2560). เตือนภัยทางการเงินมิติใหม่ทางการบริหาร. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2560, สืบค้นจาก
https://www.cad.go.th/ewt_news.php?nid=3432&filename=faq.
กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีด้านธุรกิจสหกรณ์ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ (2551). ประวัติสหกรณ์จากเอกสารการจัด
ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำชุดฝึกอบรม เรื่องอุดมการณ์หลักการ และวิธีการสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2560, สืบค้นจาก
https://www.srusct.or.th/.
เกรียง กิจบำรุงรัตน์. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยข้อมูลของอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ภาคการเกษตรและสหกรณ์นอกภาคการเกษตร ประจำปี 2558. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 3(6), 29-42.
ไพรินทร์ ชลไพศาล (2559), สัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจในกรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ. สุทธิ
ปริทัศน์ 30 (94), 238-249.
สุดา เจริญพงศ์ไพบูลย์ และ สาโรช อังศุมาลิน. (2537). ความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์. สืบค้น จาก
https://www.journal.eco.ku.ac.th/journal.php?lang=eng&journal_id=6&data_id=187
Bartlett, M. S. (1950).Tests of significance in factor analysis.The British Journal of Psychology, 3(2), 77-85. Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.).
Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall International.