รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเช่าเหมาลำสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ของผู้โดยสารชาวจีน

Main Article Content

กิริยา นิลมาลา
เนตร์ศิริ เรืองอริยภักดิ์
กนกวรรณ จั่นจีน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (8P) ปัจจัยการให้บริการสายการบินแบบเช่าเหมาลำ และปัจจัยการตัดสินใจใช้บริการเช่าเหมาลำสายการบินไทย ไลอ้อนแอร์ของผู้โดยสารชาวจีน 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (8P) ปัจจัยการให้บริการสายการบินแบบเช่าเหมาลำที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเช่าเหมาลำสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ของผู้โดยสารชาวจีน 3) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเช่าเหมาลำสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ของผู้โดยสารชาวจีน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้โดยสารชาวจีนที่มาใช้บริการแบบเช่าเหมาลำของสายการบินไทยไลอ้อนแอร์จำนวน 400 คน สำหรับค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างบนตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (8P) และปัจจัยการให้บริการสายการบินแบบเช่าเหมาลำ ต่างมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการตัดสินใจใช้บริการเช่าเหมาลำสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ของผู้โดยสารชาวจีน 2) ปัจจัยการให้บริการสายการบินแบบเช่าเหมาลำ มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการตัดสินใจใช้บริการเช่าเหมาลำสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ของผู้โดยสารชาวจีน เมื่อมีตัวแปรกำกับด้านเพศ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (8P) และปัจจัยการให้บริการสายการบินแบบเช่าเหมาลำ ต่างมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการตัดสินใจใช้บริการเช่าเหมาลำสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ของผู้โดยสารชาวจีน เมื่อมีตัวแปรกำกับด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นิติพล ภูตะโชติ. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดของอุตสาหกรรมบริการ. ขอนแก่น: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โพสิชั่นนิ่ง. (2558). เปิดเทรนด์ศึกสายบินเดือด ธุรกิจเช่าเหมาลำ ขยับสู่เส้นทางการบินแบบประจำ. สืบค้นเมื่อ 05 มกราคม 2563. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/59178.

มนตรี พิริยะกุลม. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. การประชุมวิชาการสถิติ และสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553, (หน้า C-2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย 2561. สืบค้นเมื่อ 05 มกราคม 2563. สืบค้นจาก https://www.caat.or.th/th/archives/42379.

อรอุมา สืบกระพัน. (2552). ความต้องการสารสนเทศและพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของ วิศวกรบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สำนักงานปฏิบัติการส่วนภูมิภาคภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2012). Principles of marketing. New York: Pearson Education.

Hair, J. F. Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Joreskog. K. G. & Sorbom. D. (1993). Lisrel 8: Structural Equation Modeling with the Simplis command language. Chicago: Software International.

Kar. (2011). The 8 Ps of Services Marketing. Retrieved 30 April 2016. from http://business-fundas.com /2011/the-8-ps-of-services-marketing.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th ed.). Kendallville: Pearson.

Kotler, P. (2000). Marketing management. (10th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Mehmet, A., & Gul, B. (2014). Demographic characteristics of consumer buying behavior effects of environmentally friendly products and an application in Gaziantep. The Business & Management Review, 5(1), 72-82.

Saris. W.E. & Strenkhorst. L H. (1984). Causal modeling non experimental research: An Introduction to the lisrel approach. Dissertation Abstract International, 47(7), 2261-2262.

Schiffman, L., & Wisenblit, J. (2015). Consumer Behavior. Boston: Pearson Education Limited