ตัวแบบการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย

Main Article Content

สมฤดี พงษ์เสนา
กัญญา บวรโชคชัย
อรวรรณ ริ้วทอง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดของการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย ด้วยวิธีการพยากรณ์ 3 วิธี ได้แก่ วิธีอนุกรมเวลาแบบแยกส่วนประกอบวิธีเทคนิคการทำให้เรียบ และวิธีบอกซ์และเจนกินส์ โดยใช้ข้อมูลมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยรายเดือน จากเว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 84 เดือน ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 คือ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 72 เดือน เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย ชุดที่ 2 คือ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 12 เดือน เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของการพยากรณ์ พิจารณาความแม่นยำจากค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์สัมบูรณ์ของค่าความคลาดเคลื่อน (Mean Absolute Percentage Error: MAPE) ที่มีค่าต่ำที่สุด เพื่อให้ได้ตัวแบบที่เหมาะสม


ผลการวิจัยพบว่า วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการพยากรณ์อนุกรมเวลาชุดนี้ คือ วิธีอนุกรมเวลาแบบแยกส่วนประกอบ ตัวแบบที่ได้ คือ  


model.jpg

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2556). อัญมณีและเครื่องประดับ. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563, สืบค้นจาก http://www.thaibiz.net/th/business/68/อัญมณีและเครื่องประดับ.

ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2549). การพยากรณ์เชิงปริมาณ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิยมาภรณ์ รอดบาง. (2549). การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องโดยวิธีอารีมา. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. (2560). ตัวแบบพยากรณ์ราคามังคุดคละ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(2), 31-42.

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และจิราวัลย์ จิตรถเวช. (2548). เทคนิคการพยากรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2556). เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ:การวิเคราะห์อนุกรมเวลา. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศุภวรรณ พรหมเพรา. (2556). ตัวแบบอนุกรมเวลาในการพยากรณ์การเกิดโรคไข้เลือกออก จังหวัดนครศรีธรรมราช. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2561. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563, สืบค้นจาก https://infocenter.git.or.th/Content.aspx?mid=7.

สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. (2548). เทคนิคการพยากรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา : ภารกิจเอกสารและตำรา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุนทรารักษ์ สุทธิจันทร์ และเมธา สุธีรโรจน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(2), 39-45.

สุรเชษฐ์ เถื่อนแก้วสิงห์. (2552). การใช้โครงข่ายประสาทเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการพยากรณ์ผลผลิตอ้อย. วิทยานิพนธ์ปวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

หนึ่งฤทัย เทียนกระจ่าง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเครื่องประดับแท้ของไทยไปยังสหรัฐอเมริกา. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Box, G.E.P., Jenkins, G.M., & Reinsel, G.C. (1994). Time Series Analysis: Forecasting and Control. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Tsay, R. (2010). Analysis of financial time series. ( 3rd ed). John Wiley & Sons, Inc. All rights reserved.