การรับรู้และการให้ความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ต่อโครงการชายหาดบางแสนปลอดบุหรี่

Main Article Content

มณทิรา จรรยาภรณ์พงษ์
ณรงค์ชัย คุณปลื้ม
วัลลภ ใจดี
พัชนา เฮ้งบริบูรณ์พงศ์ ใจดี

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้และการให้ความร่วมมือของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวต่อโครงการชายหาดบางแสนปลอดบุหรี่หลังการประกาศใช้กฎหมายชายหาดปลอดบุหรี่ ปี พ.ศ.2560 การศึกษาแบบเชิงสำรวจแบบตัดขวางประกอบไปด้วยผู้ประกอบการชายหาด 190 รายและนักท่องเที่ยว 453 รายโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดาวน์โหลดแบบสอบถามออนไลน์ผ่านการสแกนรหัส  คิวอาร์ที่พิมพ์บนป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณชายหาดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2561การเปรียบเทียบข้อมูลของการรับรู้และการให้ความร่วมมือระหว่างสองกลุ่มใช้สถิติ chi-square 


        ผลการวิจัยพบว่า หลังการดำเนินโครงการชายหาดบางแสนปลอดบุหรี่ ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวมากกว่าร้อยละ 80.0 รับรู้เกี่ยวกับเขตปลอดบุหรี่บริเวณชายหาด โดยผู้ประกอบการรับรู้สิทธิในการปกป้องสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชายหาดปลอดบุหรี่สูงกว่านักท่องเที่ยว (p<0.05) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสารจากการประกาศเสียงตามสาย (ร้อยละ 85.3) และการเดินรณรงค์บริเวณชายหาด (ร้อยละ 83.7) ในขณะที่นักท่องเที่ยวรับรู้ข่าวสารจากการอ่านป้ายประชาสัมพันธ์ที่ชายหาด (ร้อยละ 68.0) และการได้ยินประกาศจากเสียงตามสาย (ร้อยละ 50.1) สำหรับผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวที่สูบบุหรี่พบว่าให้ความร่วมมือในการงดสูบบุหรี่บริเวณชายหาดบางแสนมากกว่าร้อยละ 75.0 และจะสูบบุหรี่ ในเขตสูบบุหรี่ที่กำหนดทุกครั้ง โดยผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการสอดส่องผู้ที่สูบบุหรี่บริเวณชายหาดสูงกว่านักท่องเที่ยว (p<0.05) ซึ่งผู้ประกอบการนิยมวิธีการแนะนำให้ผู้สูบบุหรี่ดูป้ายประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 74.2) และวิธีตักเตือนด้วยวาจา (ร้อยละ 40.5)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2560). คำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1064/2560 เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบริเวณชายหาด. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2563 สืบค้นจาก https://dmcrth.dmcr.go.th/attachment/nw/download.php?WP=pUqgoap1GQIgG2rDqYyc4UuepPMgAUp0GQugG2rDqYyc4Uux.

เทศบาลเมืองแสนสุข. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่นปี (2561-2565) เทศบาลเมืองแสนสุข. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563 สืบค้นจาก https://saensukcity.go.th/images/doc/Plan-2561-2565.pdf.

เทศบาลเมืองแสนสุข. (2562). มติที่ประชุมของคณะกรรมการชายหาดปลอดบุหรี่ เทศบาลเมืองแสนสุข วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562. ชลบุรี: เทศบาลเมืองแสนสุข. (สำเนาเอกสาร)

Baquilod, M.M., Segarra, A.B., Barcenas, G., Mercado, S.P., Rarick, J., Palipudi, K.M., Asma, S., Andes, L.J., & Talley, B. (2016). Exposure to secondhand smoke among adults - Philippines, 2009. Global Health Promotion, 23(2 Suppl), 48-57.

Edwards, R., Thomson, G., Wilson, N., Waa, A.; Bullen, C., O’Dea, D.; Gifford, H., Glover, M., Laugesen, M., & Woodward, A. (2008). After the smoke has cleared: Evaluation of the impact of a new national smoke-free law in New Zealand. Tobacco Control, 17(1),2.

Fosson, G.H., McCallum, D.M., & Conaway, M.B. (2014). Antismoking mass media campaigns and support for smoke-free environments, Mobile County, Alabama, 2011-2012. Preventing Chronic Disease, 11 (2014), 1-9.

Hyland, A., Barnoya, J., & Corral, J.E. (2012). Smoke-free air policies: Past, present and future. Tobacco Control, 21(2), 154–161.

IARC. (2009). Evaluating the Effectiveness of Smoke-Free Policies; IARC Handbooks of Cancer Prevention, Tobacco Control; International Agency for Research on Cancer World Health Organization, Volume 13. Retrieved October 7, 2020 from https://www.iarc.fr/wp-content/ uploads/2018/07/handbook13.pdf.

Kungskulniti N., Pitayarangsarit S, & Hamann S.L. (2018). Stakeholder's Assessment of the Awareness and Effectiveness of Smoke-free Law in Thailand. International Journal of Health Policy and Management, 7(10), 919–922.

McCrabb, S., Baker, A.L., Attia, J., Balogh, Z.J., Lott, N., & Palazzi, K., Justine N., Harris I.A., Doran C.M., George J., Wolfenden L., Skelton E., & Bonevski B. (2017). Hospital Smoke-Free Policy: Compliance, Enforcement, and Practices. A Staff Survey in Two Large Public Hospitals in Australia. International Journal of Environmental Research and Public Health, 14(11), 1-12.

Nguyen, V.H., DO, D.A., DO, T.T.H., Dao, T.M.A., Kim, B.G., Phan, T.H., Doan, T.H., Luong, N.k., Nguyen, T.L., Hoan, V.M., Pham, T.Q.N., & Nguyen, T.Q. (2019). Smoke-free environment policy in Vietnam: whatdid people see and how did they react when they visited various public places? Journalof Preventive Medicine and Hygiene, 60(1), 36-42.

Wahyuti, W., Hasairin, S., Mamoribo, S., Ahsan, A., & Kusuma, D. (2019). Monitoring Compliance and Examining Challenges of a Smoke-free Policy in Jayapura, Indonesia. Journal of Preventive Medicine & Public Health, 52(6), 427-432.

Wayne, W.D., & Cross, C.L. (2013). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. (10th ed.). New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

World Health Organization. (2013). WHO framework convention on tobacco control: Guidelines for implementation. France: WHO press.

Wynne, O., Guillaumier, A., Twyman, L., McCrabb, S., Denham, A.M.J., Paul, C., Baker, A.L., & Baker, B. (2018). Signs, Fines and Compliance Officers: A Systematic Review of Strategies for Enforcing Smoke-Free Policy. International Journal of Environmental Research and Public Health, 15(7), 1-14.