ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อกลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการแข่งขันกันอย่างมาก ส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์มือสองต้องวางกลยุทธ์การตลาดให้มีความแตกต่างและตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อกลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสอง โดยใช้แบบสอบถามและการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์มือสอง อีกทั้งมีการนำปัจจัยด้านเพศ อายุ ประสบการณ์ในการซื้อ และวัตถุประสงค์ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์มือสองมาทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ควรมีการเพิ่มมูลค่าและนำเสนอถึงความพร้อมเข้าอยู่ของอสังหาริมทรัพย์มือสอง (2) กลยุทธ์ด้านราคาควรมีการระบุราคาให้ชัดเจน และการกำหนดราคาเพียงราคาเดียวที่ครอบคลุมค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (3) กลยุทธ์ด้านช่องทางการขายควรมีการระบุผู้ถือกรรมสิทธิ์เช่นเจ้าของขายเองหรือเป็นทรัพย์สินรอการขาย (4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาดควรมีการโฆษณาทั้งทางช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะ ยูทูบ และการโฆษณาบนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ สุดท้ายงานวิจัยได้เสนอแผนกลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์ มือสอง เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาธุรกิจต่อไป
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
ฐานเศรษฐกิจ. (2563). บ้านใหม่ดัมพ์ราคาทุบตลาดบ้านมือสองดิ้นหนีเจาะเศรษฐี-ต่างชาติ, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/content/432149.
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้. (2563). คนไทยมอง “ตลาดอสังหาฯ” อย่างไรในช่วงที่ผ่านมา. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://forbesthailand.com/news/property/คนไทยมอง-ตลาดอสังหาฯ-อย่างไรในช่วงที่ผ่านมา.html.
ถวิล ธาราโภชน์. (2532). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2563). สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อที่อยู่อาศัย, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/personal/loans/home-loans/homeloan.
นิภาพร อริยบัณฑิตกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยมือสองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 4(2), 159-164.
ผุสดี ทิพทัส. (2555). ฮวงจุ้ยในงานสถาปัตยกรรม. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(2), 182-191.
พิชานันท์ บุญพร้อมกุล และ อัจฉราวรรณ งามญาณ. (2560). ตัวบ่งชี้ล่วงหน้าของการถดถอยของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 40(156), 36-37.
มนธิดา ศรีพยุงฉันท์. (2558). ศึกษาเรื่องความต้องการด้านอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแนวราบของกลุ่มผู้บริโภคเปรียบเทียบ Generation X กับ Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รัชญา หลิมรัตน์. (2553). กลยุทธ์การตลาด: ศึกษาเฉพาะปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และราคาของบ้านมือสอง ประเภทบ้านเดี่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดิ์ สุนทรเสณี. (2531). เจตคติ. กรุงเทพฯ: ดีดี บุ๊กสโตร์.
สมจิตร เปรมกมล. (2552). ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจในการซื้อบ้านมือสองของผู้บริโภค มีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยและพฤติกรรมในการซื้อบ้านมือสองของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
โสภณ พรโชคชัย (2560). การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย.
เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส. (2560). ท่านทราบไหมมูลค่าตลาดบ้านของไทยปีละเท่าไหร่. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php? strquey=press_announcement1871.htm.
Berelson, B. & Steiner, A. G., (1964). Human behavior: An inventory of scientific findings.
New York: Harcourt, Brace & World.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
DeFleur M. L. & Ball-Rokeach S. J. (1996). Theories of mass communication, London: Longman.
Kendler, H. H. (1963). Basic Psychology. New York: Appleton-Century-Crofts.
Lauterborn, R.F. (1990). New Marketing Litany; Four P's passe; C-words take over. New York: Crain Communications.
McCarthy, E. J., (1971). Basic Marketing: A Managerial Approach, Homewood: R.D. Irwin.
Munn, N. L., (1971). Introduction to Psychology. Boston: Houghton Mifflin.
Murphy, G., Murphy, L. B., & Newcomb, T. M. (1973). Experimental social psychology. New York: Harper.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.