สาเหตุการคงอยู่ของหนี้นอกระบบในสังคมไทย

Main Article Content

วิชญาดา ถนอมชาติ
ศิริขวัญ เจริญวิริยะกุล
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

        หนี้นอกระบบเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบทางลบต่อทั้งระดับบุคคลและระดับประเทศในกรณีประเทศไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายทศวรรษ แม้ว่าคนไทยบางส่วนมีความตระหนักถึงผลเสียที่เกิดตามมาจากการก่อหนี้นอกระบบ รวมถึงแรงผลักดันและความพยายามของภาครัฐบาลในการพยายามลดและกำจัดหนี้นอกระบบให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทยแต่ในปัจจุบันหนี้นอกระบบก็ยังคงอยู่และไม่มีแนวโน้มว่าจะลดน้อยลงอย่างชัดเจนมากนัก บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ 1) ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักอันนำไปสู่การกู้ยืมเงินนอกระบบสถาบันการเงิน และ 2) นโยบาย โครงการและมาตรการของภาครัฐในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้มีหนี้สินนอกระบบสถาบันการเงินในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัญชิตา ประพฤติธรรม, ชุมนุม ทัศนคง, และปรีชา อมรแมนนันท์. (2546). ขบวนการหนี้นอกระบบ: บทเรียนจากธนาคารสัจจะออมรายวัน ชุมชนห้วยขวาง. กรุงเทพ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

กระทรวงการคลัง. (2562). มูลค่าการนำเข้า แยกตามหมวดสินค้าฟุ่มเฟือย. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2563, สืบค้นจาก http://dataservices3.mof.go.th/menu25?id=6.

เชียงใหม่นิวส์. (2563). เงินกู้ดอกโหดคืนชีพ เร่งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบหวั่นเพิ่มทุกข์ชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1370340/.

ไทยโพสต์. (2561). คิกออฟล้างหนี้นอกระบบ ตร.ล็อกเป้ามาเฟีย 762 ราย. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/9359.

ธนาคารไทยพาณิชย์. (2563). บันได 4 ขั้น พิชิตวิกฤตหนี้ สู่เศรษฐีเงินล้าน. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/4-steps-to-millionaire.html.

ธนาคารทหารไทย. (2562). ทีเอ็มบี จับมือ ไวซ์ไซท์ ล้วงลึกพฤติกรรมการเงิน GEN Y. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2019/11/gen-y-easy-to-pay/.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจำแนกตามวัตถุประสงค์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx? reportID=891&language=TH.

ธนาคารออมสิน. (2562). รู้เท่าทันกลโกงการเงินนอกระบบ. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก https://shorturl.asia/zPiS4.

ไผทชิต เอกจริยกร. (2554). ปัญหาหนี้นอกระบบในสังคมไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 16(1), 14-30.

โพสต์ทูเดย์. (2563). ภรรยาไม่เถียง! กู้เงินนอกระบบเล่นพนันจนสามีฆ่าตัวตาย. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/social/local/628060.

รจนา อินคง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติ. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สำนักงานสถิติฯ เผยการออมภาคครัวเรือนของไทยไตรมาส 3 ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563, สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2562/N14-03-62-2.aspx.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 ทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สรา ชื่นโชคสันต์, สุพริศร์ สุวรรณิก, และธนัชพร สุขสุเมฆ. (2562). หนี้ครัวเรือนไทย: ข้อเท็จจริงที่ได้จาก BOT-Nielsen household financial survey. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก https:// www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_143.pdf.

สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล. (2557). หนี้นอกระบบกับความเป็นธรรมทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก http://www.cusri.chula.ac.th/backup/download/cluster6.pdf.

แอ็กเซสเทรด. (2563). เปิดขั้นตอนในการปลดหนี้นอกระบบรวดเร็วทันใจใช้ได้ผลจริง. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563, สืบค้นจาก https://shorturl.asia/MWCah.

อิปซอสส์. (2563). ผลกระทบของ Covid-19 ต่อรายได้คนไทย. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก https://www.facebook.com/ipsosth/posts/1593008690868979.

Banerjee, A.V., & Duflo, E. (2007). The economic lives of poor. Journal of Economic Perspectives, 21, 141-167.

Fischer, G., & Karlan, D. (2018). Informal finance – mapping global savings and lending practices. Retrieved: March 26, 2020, from https://www.poverty-action.org/study/informal-finance-mapping-global-savings-and-lending-practices.

Khoi, P.D., Gan, C., Nartea, G., & Cohen, D.A. (2013). Formal and informal rural credit in the Mekong River Delta of Vietnam: Interaction and accessibility. Journal of Asian Economics, 26, 1-13.

Mercer. (2019). Mercer’s 25th annual cost of living survey finds cities in Asia most expensive locations for employees working abroad. Retrieved May 5, 2020, from http://1ab.in/uHO.

Mohieldin, M. S., & Wright, P. W. (2000). Formal and informal credit markets in Egypt. Economic Development and Cultural Change, 48(3), 657–670.

Santos, D.B., Mendesdasilva, W., & Gonzalez, L. (2018). Lower financial literacy induces use of informal loans. Revista de Administração de Empresas, 58(1), 44-59.

Siamwalla, A., Pinthong, C., Poapongsakorn, N., Satsanguan, P., Nettayarak, P., Mingmaneenakin, W., & Tubpun, Y. (1990). The Thai rural credit system: public subsidies, private information, and segmented markets. The World Bank Economic Review, 4(3), 271–295.

Waldron, D.G. (1995). Informal finance and the East Asian economic “miracle”. Multinational Business Review, Fall 1995.