ปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การชำระสินเชื่อของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ปี 2559 – 2561) พบว่ามูลค่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในสถาบันการเงิน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน ซึ่งงานวิจัยมีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้ใช้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงินต่าง ๆ จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่าปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยที่เกิดจากผู้ขอสินเชื่อมีความเห็นอยู่ระดับมาก ส่วนปัจจัยเกิดจากสถาบันการเงินอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีด้านอายุ ด้านอาชีพ ด้านระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัญหาต่าง ๆ แตกต่างกัน สุดท้ายงานวิจัยนี้ได้มีการนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
ชัยยุทธ วัชรานนท์.(2546). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์การพิมพ์.
ดอท พร๊อพเพอร์ตี้. (2557). รู้จักทรัพย์สินรอการขาย หรือ NPA. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563. สืบค้นจาก https://www. dotproperty.co.th/blog/รู้จักทรัพย์สินรอการขาย-หรือ-npa.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน สายนโยบายสถานบันการเงิน , ที่ ฝนส.(01)ว. 50/2559 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน วันที่ 29 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 สืบค้นจากhttps://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2559/ThaiPDF/25590128.pdf.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). FI_NP_001 ข้อมูล Gross NPLs และ Net NPLs สินเชื่อแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องและค่าปรับจำแนกตามกลุ่มประเภทสถาบันการเงิน 1/ 2/. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=428&language=th.
ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2563ก.). มาตรการสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และให้เงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการ SMEs (SMEs Loan Restructuring). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 สืบค้นจาก https://www.facebook.com/bankofthailandofficial/posts/1066219600394133/.
ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2563ข.). ข่าว ธปท. ฉบับที่ 22/2563 เรื่อง แบงก์ชาติเปิด "ทางด่วนแก้หนี้" เชื่อมเจ้าหนี้-ลูกหนี้ให้ปรับหนี้ร่วมกัน สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai /PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n2263.aspx#.
ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2564). FI_CB_094 รายงานสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2564 สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID= 935 &language=th.
นราธิป วงศ์สินธุ์วิเศษ.(2554). พฤติกรรมการชำระหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของลูกหนี้สินเชื่อสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับผู้บริหาร, คณะวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร.(2559). 6Cs Credit indicators สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 สืบค้นจาก https://www.ncb.co.th/Press_20061108.htm .
ประชาชาติธุรกิจ.(2563). หนี้เสีย “รถยนต์-กู้บ้าน” ขาขึ้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 สืบค้นจากhttps://www.prachachat.net/finance/news-468357.
ปัญจรัตน์ หนูสิงห์.(2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรณีศึกษา: ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาพัทลุง. การค้นคว้าอิสระสาขาวิชาเอกบริหารธุรกิจ, สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสงขลา, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วนิดา จันทวงศ์.(2550) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สินเชื่อเคหะธนาคารออมสิน เขตเชียงใหม่ 2. การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรรณี สมตัว.(2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ สินเชื่อนโยบายรัฐ ของธนาคารออมสิน สาขาจะนะ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศรีวาลัย นิราช.(2551). ปัจจัยของการค้างชำระหนี้เงินกู้ของลูกค้าธนาคารของรัฐ ในจังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภรา ทองไซร้.(2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้ NPLs กรณีศึกษาธนาคารออมสินเขตสงขลา 2. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตหาดใหญ่.
ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน.(2563). ภาวะสินเชื่อที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 และแนวโน้มปี 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สืบค้นจาก https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/ 2020/06/IN_bank_house_loan_H12563_inter_info.pdf .
เอกรัฐ วงศ์วีระกุล.(2553). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารพาณิชย์ของคนทำงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการ, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โฮมบายเออร์ไกด์. (2560). 5Cs สำคัญอย่างไร กับผู้กู้สินเชื่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.home.co.th/finance/topic-10773.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins. Publishers.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.