การประเมินเส้นทางผลลัพธ์และผลกระทบ ภายใต้ชุดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

เฉวียง วงค์จินดา

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินเส้นทางผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 5 โครงการ โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์นักวิจัยและสัมภาษณ์ผู้ใช้ประโยชน์ จำนวน 200 คน เพื่อสร้างเส้นทางผลลัพธ์ ผลกระทบ (Impact pathway) และทำการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นด้วยแบบจำลองโลจิท (Logit model) ทั้งนี้การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคมประเมินภายใต้แนวคิดผลตอบแทนทางสังคม (Social return on investment) โดยใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าโครงการทางการเงิน (Monetization) และเทคนิค Benefit transfer ภายใต้แนวคิด Deadweight Analysis เพื่อกำหนดขอบเขตของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจริง หรือเรียกว่าผลลัพธ์ส่วนเกิน (Deadweight) และการวัดความคุ้มค่าโครงการด้วยดัชนี NPV BCR และ IRR ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่ 5 โครงการ มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น เท่ากับ 3,612,251.71 บาทต่อปี ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเท่ากับ 2,167,351.03 บาทต่อปี ผลกระทบด้านสังคม 2,384,086.13 บาทต่อปี รวมมูลค่าผลกระทบ 8,163,688.87 บาทต่อปี และมีดัชนีความคุ้มค่าที่คำนวณภายใต้แนวคิด Ex ante assessment ไป 5 ปีจากการยอมรับเทคโนโลยีที่กลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่จะนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการพัฒนาในโครงการมาเพิ่มมูลค่าเพิ่มที่ระดับการยอมรับร้อยละ 1.60 อัตราคิดลดดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะ 5 ปีร้อยละ 2.5 ค่าดัชนี NPV เท่ากับ 10,347,699.54 บาท, BCR เท่ากับ 1.18 และ IRR เท่ากับ ร้อยละ 75 ซึ่งดัชนีทั้งสามเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์แล้วการลงทุนชุดโครงการวิจัยทั้ง 5 โครงการ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาคร ประพรหม. (2561). การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการพัฒนา ด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ อ.สะเดา จ.สงขลา. วารสารคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(1), 283-318.

ชิชญาสุ์ ช่างเรียน. (2562). การประเมินเส้นทางผลลัพธ์ ผลกระทบของงานวิจัยในระบบวนเกษตรบนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขต จ.อุตรดิตถ์. รายงานวิจัย, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เดือนรุ่ง ช่วยเรือง และนัทธ์หทัย หลงสะ. (2558). การเปรียบเทียบผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุนในการทำสวนยางพาราระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้ของไทย. วารสารปาริชาต, 28(3), 20-36.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วัฒนวงศ์ รัตนวราห. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวของคนไทยโดยใช้แบบจําลองโลจิทแบบสองทางเลือก. รายงานวิจัย, สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ศศรส ใจจิตร์ นราภรณ์ เภาประเสริฐ และจุฑา พิชิตลำเค็ญ. (2560). การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของงานวิจัยด้านข้าวในประเทศไทย. แก่นเกษตร, 45(4), 613-624.

สมบูรณ์ สุริยวงศ์ สมจิตรา เรืองศรี และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2552). Educational Research and Statistics: วิจัยและสถิติทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สมพร อัศวิลานนท์, ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ และสุวรรณา ประณีตวตกุล. (2553). การประเมินผลกระทบจากงานวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

สมพร อิศวิลานนท์ และ ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์. (2561). การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ:

แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองแห่งชาติ.

สมพร อิศวิลานนท์. (2561). การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ: แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองแห่งชาติ.

อัศวิน แก้วพิทักษ์. (2558). บทบาท ผลกระทบ และมาตรการแก้ไขเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในเขตชุมชนชาวประมงของจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา : กรณีศึกษา อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Allen, W., Cruz, J., & Warburton, B. (2017). How decision support systems can benefit from a theory of change approach. Environmental Management, 59(1), 956–965.

Alston, J. M., G. W. Norton, & P. G. Pardy. (1998). Science under Scarcity: Principles and Practice for Agricultural Research Evaluation and Priority Setting. Cornell University Press: Ithaca.

Bennis, W. G., Benne, K., & Chin, R. (1969). The planning of change. The American Journal of Nursing, 69(8), 1754.

Dart, J., Petheram, R. J., & Straw, W. (1998). Review of evaluation in agricultural extension. Kingston, ACT, Rural Industries Research and Development Corporation.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw - Hill.

Nunnally, Jum C. & Bernstein, Ira H. (1994). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Riecken, H. (1972). Evaluation action programs: reading in social action research. Boston: Allyn & Bacon.

Scriven, M. (1991). The Methodology of Evaluation. In curriculum evaluation, American educational research association, 1, 60-75.