การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีและคุณภาพเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจ สั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B

Main Article Content

รัญชิดา เกียรติกนก
เจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B และวิเคราะห์คุณภาพเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานฝ่ายจัดซื้อของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง จำนวน 218 คน เพื่อป้องกันความผิดพลาดคลาดเคลื่อนผู้ศึกษาจึงเก็บข้อมูลเพิ่มอีก 45 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 263 คน และการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling) การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)  และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


        ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีในด้านความคาดหวังในความพยายาม สภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน อิทธิพลทางสังคม และคุณภาพเว็บไซต์ในด้านคุณภาพสารสนเทศ คุณภาพระบบ และคุณภาพการให้บริการมีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2561). ข้อมูลนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, สืบค้นจาก https://www.ieat.go.th/ieat-industry-port-factory/industrial-list.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ ฯ: ธรรมสาร.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2547). คัมภีร์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์แอนด์คอนซัลท์.

กิตติวัฒน์ จิตรวัตร. (2559). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ลาซาด้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2558). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรม ผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 2012(1), 1-21.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

อรพรรณ พนัสพัฒนา. (2558). คู่มือกลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, สืบค้นจาก http://handbook-ecommerce.blogspot.com.

Davis, F.D. (1989), Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology, MIS Quarterly, 3(3), 319-340.

DeLone, W. H., & McLean, E. R. (1992). Information systems success: The quest for the dependent variable. Information Systems Research, 8(3), 240-253.

DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2002). Information systems success revisited. In Proceedings of the 35th Hawaii international conference on system sciences (HICSS 02), January 7–10. Big Island, Hawaii.

DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of Information systems success: A ten-year update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). “User Acceptance of Information Technology: Toward a Unified View”. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.