นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วยมูลค่าท้องถิ่น

Main Article Content

พรรณี พิมาพันธุ์ศรี

บทคัดย่อ

        โครงการวิจัยนี้ศึกษาแนวทางหรือรูปแบบในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวผ่านการขับเคลื่อนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก โดยใช้กระบวนการ (Community Based Design Creative Process) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและรูปแบบในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และศึกษาเรื่องกระบวนการสร้างนวัตกรรมและแนวคิดสร้างสรรค์จากเยาวชนในพื้นที่เพื่อให้ได้แนวคิดในการสร้างเครื่องมือให้ผู้ประกอบการในการสรรสร้างสินค้า เพื่อขับเคลื่อนการนำอัตลักษณ์ตามแบบวิถีไทยที่สะท้อนในวิถีชีวิต ศิลปะ ธรรมชาติ ของผู้คนในชุมชน มาสอดประสานในกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากของดีของเด่นในชุมชน ด้วยกระบวนการสืบค้น ร้อยเรียง ออกแบบ และต่อยอด


        โดยได้คัดเลือกมาทั้งหมด 2 พื้นที่ คือ ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 ชุมชน ได้แก่ชุมชนเจริญสุขและสนวนนอก และ ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ได้แก่ 14 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกระบี่ และชุมชนบ้านหนองทะเล นักวิจัยลงพื้นที่เพื่อสืบค้นหาของดีของเด่นในพื้นที่เป้าหมาย พร้อมด้วย กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่กำหนด นักออกแบบมืออาชีพ สมาชิกชุมชนและปราชญ์ชุมชน และ นักธุรกิจรุ่นใหม่ของจังหวัด ทำให้ได้กระดานทรัพย์สินของชุมชน (Community Asset Board) ซึ่งรวบรวมของดีของเด่นของพื้นที่ เพื่อใช้ในการทดลองนำไปปฏิบัติออกแบบสร้างสรรค์งานตามแนวคิดวิถีไทยและติดตามจัดทำแนวคิด โดยการจัดค่ายสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ภายใต้การดูแลของหัวหน้าโครงการวิจัยและผู้ร่วมวิจัย ทดลองฝึกปฏิบัติ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามแนวทางการสร้างเอกลักษณ์และมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยการกำหนดโจทย์ให้ผู้ร่วมทดลอง ร่วมออกแบบตามกระบวนการสร้างต้นแบบ ของผลการสร้างสรรค์ เพื่อพร้อมนำไปทดสอบประเมินความพร้อมก่อนสู่ตลาดต่อไป ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่พัฒนามาจากของดีของเด่นของแต่ละพื้นที่ จำนวน 8 ชิ้นงาน และหนึ่งในผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 1 ชิ้นได้ถูกนำไปต่อยอด สู่การนำออกสู่ตลาดโดยนักออกแบที่เข้าร่วมโครงการ ในชื่อ POUKA


        จากการศึกษาพบว่า ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานทรัพยากรของชุมชนนั้น การเข้ามามีส่วนร่วมของคนภายนอกชุมชนในโครงการนี้ทำหน้าที่เป็น ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) เพื่อจะนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไปต่อยอดและสร้างสรรค์ มีการแสดงออกถึงแนวทางการดำเนินงานที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ โดยที่ชุมชนได้ประโยชน์จากการที่สินค้าของชุมชน ผู้ประกอบการก็ได้รับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรยุทธ บุญมี. (2546). พหุนิยม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, วิชุดา กิจธรธรรม, ฐาศุกร์ จันประเสริฐ และนรสิรา พึ่งโพธิ์สภ (2557). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมตามค่านิยมและวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภิญโญ รัตนาพันธุ์ (2559). Positive Deviance (PD): เครื่องมือพัฒนาองค์กรยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559 สืบค้นจาก https://mgronline.com/management/detail/9590000075280.

สถาบันดำรงราชานุภาพ (2559). พิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ16 พฤศจิกายน 2559 สืบค้นจาก http://www.stabundamrong.go.th/web/download/newkm/thailand4.0.pdf.

สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร (2558). จากปฏิบัติการจริงสู่แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ.เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Boas, F. (1974). "The Principles of Ethnological Classification," in A Franz Boas reader ed. By George W. Stocking Jr. Chicago, The University of Chicago Press.

James, P., Nadarajah, Y., Haive, K., & Stead, V. (2012). Sustainable communities, sustainable development: other paths for Papua New Guinea. Honolulu: University of Hawai’I Press.

Nordic Innovation Center (2005). Innovation systems and the Periphery Final Report. Retrieved December 20, 2014, from http://www.nordicinnovation.org/Global/_Publications/ Reports/2005.

Piller, F., Ihl, C. & Vossen, A., (2010). A typology of customer co‐creation in the innovationProcess. Retrieved December 20, 2014, from http://ssrn.com/abstract=1732127.

Pimapunsri, P. Patcharasamrandet, P. Kanchanawat, S. & Supavirasbancha, T. (2015). Innovation and Creativity of Local wisdoms and Thainess: The Perspectives from our Next Generation. International Conference on "Business Economic, Social Science & Humanities" (BESSH-2016). 246, pp. 250-256. Osaka: Academic Fora.

Williams, Chuck (2012). Effective Management: A Multimedia Approach. CA: Cengage Learning.