โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหากับความสำเร็จ ทางการตลาดของธุรกิจค้าปลีกและบริการในประเทศไทย

Main Article Content

อินทร์ อินอุ่นโชติ
แคทลียา ชาปะวัง

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหากับความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจค้าปลีกและบริการในประเทศไทยโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก  ผู้บริหารธุรกิจค้าปลีกและบริการในประเทศไทย จำนวน 460 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทั้งหมดด้วยเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างได้แก่ Chi-square = 1.682, GFI = 0.912 ,AGFI = 0.923, CFI = 0.917, NFI = 0.921 และ RMSEA = 0.073 โดยสรุป 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหากับความสำเร็จทางการตลาด ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แสดงให้เห็นว่าการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหามีอิทธิพลต่อความสำเร็จทางการตลาด 2. ขนาดอิทธิพลทางตรงโดยรวมของตัวแปรการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหา ได้แก่ ความสัมพันธ์ การให้ข้อมูล ความเชื่อถือได้ คุณค่า เอกลักษณ์ อารมณ์ เนื้อหาอัจฉริย มีอิทธิพลทางบวกต่อความสำเร็จทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหามีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุทางบวกต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจค้าปลีกและบริการในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อินทร์ อินอุ่นโชติ, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ข้อมูลทั่วไปผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563, สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/.

ณภัทร จันทะกล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การบริการที่เป็นเลิศกับความสำเร็จ ทางการตลาดของธุรกิจสปาในประเทศไทย. วารสารศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(2), 87-108.

นัทวี ตันติสาธรรม. (2562). ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งสำหรับยุคนั้นคือการเปลี่ยนเครื่องมือสื่อสาร จากเครื่องมือเก่าไปสู่เครื่องมือใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น (2562). Smart SME รวมข้อมูลข่าวสาร เพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี. กรุงเทพฯ: พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น.

พรอนงค์ อร่ามวิทย์. (2564). จุฬาฯ : ดึง SME แห่งสังคมนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ธัญเศรษฐกิจ.

ภีรญา อังคศิริวานนท์. (2564) 7 ประเภทของการตลาดเชิงเนื้อหาที่ช่วยดึงความเชื่อมั่นบนเฟสบุ๊ค. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก https://stepstraining.co/social/content-marketing-boost-facebook-engagement.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี. (2564). ธุรกิจค้าปลีกกับช่องทางออนไลน์เชื่อมต่อผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี.

สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อโณทัย งามวิชัยกิจ. (2563). การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมที่มีผลต่อความผูกพันของนักศึกษาต่อตราผลิตภัณฑ์มหาวิทยาลัย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 94-105.

อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2562). การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aaker, D. A. (2001). Consumer evaluations of brand extensions. Journal of Marketing, 54(1), 27–41.

Al-Azzam, A. F., & Al-Mizeed, K. (2018). The Effect of Digital Marketing on Purchasing Decisions: A Case Study in Jordan. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(5), 455-463.

Ambler, T., & Kokkinaki, K. (2014). Measures of marketing success. Journal of Marketing Management, 13(7), 37-41.

Ausra, K., & Ruta, M. (2016). Biotechnological Wastewater Treatment in Small-scale Wastewater Treatment Plants. Journal of Cleaner Production, 279, 123750. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2020.123750.

Bentler, P. M. (1990). Comparative fit indexes in structural models. Psychological Bulletin, 107(2), 238–246. https://doi.org/10.1037/0033-2909.107.2.238.

Bentler, P. M., & Bonett, D. G. (1980). Significance tests and goodness of fit in the analysis of covariance structures. Psychological Bulletin, 88(3), 588–606. https://doi.org/10.1037/0033-2909.88.3.588.

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: Wiley.

Browne, M. W., & Cudeck, R. (1993). Alternative ways of assessing model fit. In K. A. Bollen and J. S. Long (Eds.), Testing structural equation models. Newbury Park, CA: Sage.

Gagnon, J. (2014). Demographic Change and the Future of the Labour Force in the EU27, in other OECD Countries and Selected Large Emerging Economies. Matching Economic Migration, 11(16), 37-65.

Gunelius, S. (2011). Social Media Marketing: Step by Step Techniques to Spread the Words about your Business. New York: McGraw-Hill.

Gregoriades, A., Pampakab, M., Herodotoua, H., & Christodouloua, E. (2021). Supporting Digital Content Marketing and Messaging Through Topic Modelling and Decision Tree. Expert Systems with Applications, 184(1),115546. doi.org/10.1016/j.eswa.2021.115546.

Hu, L. t., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis, (7th ed.). New Jersey: Pearson.

Han, J. Y., & Kim, W. K. (2015). The Effect of Product Type and Channel Prioritization on Effective Digital Marketing Performance. Journal of Distribution Science, 13(5), 91-102.

Joreskog, K. G., & Sorbom D. (1989). LISREL 7: A Guide to the Program and Applications. Chicago: SPSS.

Javornik, A., Raffaele, F., & Gumann, R. (2020). Don't Forget that Others Are Watching, Tool. The Effect of Conversational Human Voice and Reply Length on Observers' Perceptions of Complaint Handling in Social Media. Journal of Interactive Marketing, 50, 100-119.

Kucuk, S. U., & Krishnamurthy, S. (2007). An Analysis of Consumer Power on the Internet. Technovation, 27(1–2), 47-56.

Lal, R., Brevik, E. C., Dawson, L. A., & Field, D. J. (2020). Soil and the Sustainable Development Goals. Stuttgart: Catena Soil Sciences.

Limba, J. (2013). Trust and Power: Two Works by Niklas Luhman. New York: John Wiley & Sons.

Ludwig, J., Liebman, J. B., Kling, J. R., Duncan, G. J. Katz, L. F. & Kessler, R. C. (2012). What Can We Learn about Neighborhood Effects from the Moving to Opportunity Experiment. American Journal of Sociology, 114, 144–188.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). Lawrence Erlbaum: Associates Publishers.

Sugawara, S. (2020). Digital Content Refinement by Accumulation of Defectively Reliable Publications and Majority Voting Over a Network. Internet of Things, 11(3), 102-224.

Tanaka, J. S., & Huba, G. J. (1985). A Fit Index for Covariance Structure Models Under Arbitrary GLS Estimation. British Journal of Mathematical and Statistical Psychology, 38(2), 197–201.