ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ภคพร วัฒนดำรงค์

บทคัดย่อ

จังหวัดพิษณุโลกมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายและมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งภูเขา น้ำตก แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ อีกทั้งเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมีพระบรมธาตุที่เป็นที่สักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกและเป็นแหล่งผลิตถือเป็นจุดแข็งที่เอื้อต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว รวมถึงโอกาสจากนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ได้ถูกดำเนินการในการค้นคว้าตอบโจทย์ความเป็นไปได้ในการจัดการท่องเที่ยวในระดับจังหวัด ผ่านการรวบรวมข้อมูล และการสำรวจกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ รวมถึงการจัดประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึกได้ดำเนินการในการศึกษาครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาทบทวนยุทธศาสตร์ และลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จำนวนผู้เข้าร่วม 80 คน ของแต่ละอำเภอ รวมจำนวนทั้งสิ้น 720 คน ประชุมกลุ่มย่อย และนำข้อมูลที่ได้มาทำการสังเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกมีประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับครอบคลุม 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลกในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ สำหรับเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดและกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด รวมถึงแนวทางการขับเคลื่อนสู่การวางแผนงาน โครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องรายประเด็นเพื่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดพิษณุโลกอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2561). ข้อมูลสถิติประชากรปี พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

กรวรรณ สังขกร, ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์, สุรีย์ บุญญานุพงศ์, อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง และจิราวิทย์ ญาณจินดา (2558). การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ.(รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิติการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กฤติมา อินทะกูล และ ณัฐพร ตั้งเจริญชัย.(2563). การศึกษาศักยภาพของชุมชนเพื่อการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษา ตำบลวังทอง อำเภอวัง ทองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(3), 53-70.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). ศึกษาศักยภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ของจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สระแก้ว และสมุทรสาคร ในเขตภาคกลาง. (รายงานการวิจัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคลังจังหวัดพิษณุโลก. (2565). ประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก ปี 2565. พิษณุโลก: สำนักงานคลังจังหวัดพิษณุโลก.

สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, สืบค้นจาก https://www.phitsanulok.go.th/gphitsanulok/components/com_mamboboard/uploaded/files/plan66_70.pdf.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า และ ปรีชา ชลวัฒนพงศ์. (2556). แผนการตลาดท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สระแก้วและสมุทรสาคร ในเขตภาคกลาง. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อินทิรา ซาฮีร์. (2561). การขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ASEAN Secretariat. (2016). ASEAN Community Based Tourism Standard. Jakarta: The ASEAN Secretariat.

Gurel, M., & TAT, M. (2017). SWOT analysis: A Theoretical Review, The Journal of International Social Research, 10(51), 994-1006.

Hitt, M.A., Ireland, R.D., & Hoskisson. (2017). Strategic Management: Competitiveness and Globalization (Concepts and Cases). (8th ed.). Mason: South-Western Cengage Learning.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.