โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลด้วยศักยภาพทางการตลาด กลยุทธ์การตลาดและพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมการตลาดของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมด้านผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปประเภทอาหาร

Main Article Content

วุฒิชาติ สุนทรสมัย
วีระสิทธิ์ ปิติเจริญพร
วีระ ศิลปะรัตนาภรณ์
พัชร พิลึก

บทคัดย่อ

การศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลด้วยศักยภาพทางการตลาดกลยุทธ์การตลาด และพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมการตลาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปประเภทอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางการตลาด กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมเชิงนวัตกรรมการตลาด และประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลของกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปประเภทอาหารด้วยการตลาดดิจิทัล เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลกับศักยภาพทางการตลาด กลยุทธ์การตลาด และพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมการตลาด และศึกษาอิทธิพลของศักยภาพทางการตลาดและกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลต่อประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลด้วยพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมการตลาด ใช้การวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model) ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการศึกษาพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัล ตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกลมกลืนกันในระดับดี โดยศักยภาพทางการตลาด และพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมการตลาด มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัล และศักยภาพทางการตลาด และกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลผ่านพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมการตลาด โดยศักยภาพทางการตลาด กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมการตลาดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลได้ร้อยละ 57 ข้อเสนอแนะเชิงประยุกต์ได้แก่ ผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นการตอบสนองผู้บริโภคแบบปรับเปลี่ยนตามความต้องการส่วนบุคคล มีการติดต่อและเพิ่มความสะดวกในการซื้อผ่านโปรแกรมการตลาดดิจิทัล รวมถึงการเลือกซื้อสินค้า การชำระเงิน และการจัดส่งสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชบัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

ถนอมพงษ์ พานิช และ ศิริพงษ์ เจริญสุข (2561). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพตลาดของธุรกิจร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปาริชาต, มหาวิทยาลัยทักษิณ, 31(1), 277-286.

บัญชา สมบูรณ์สุข. (2556). โอกาสและอุปสรรคของผัก & ผลไม้ไทยในอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564, สืบค้นจาก http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3189:2014-02-06-10-28-56&catid=22&Itemid=217.

บุญฑวรรณ วิงวอน และ ณัฐวดี พัฒนโพธิ์. (2556). ภาวการณ์มุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการและประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 6(2), 123-146.

ปรารถนา หลีกภัย. (2556). ปัจจัยนำความสามารถทางนวัตกรรมและผลต่อผลการดำเนินงานองค์กร. วารสารนักบริหาร, 33(4), 55-63.

พนิดา สัตโยภาส บุญชนิต วิงวอน และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2555). ศักยภาพผู้ประกอบการและ นวัตกรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตภาคเหนือตอนบน. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิจัย รําไพพรรณีครั้งที่ 6. (หน้า 262-273). มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

วรางคณา ตันฑสันติสกุล และ เมธาวี ว่องกิจ. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาโรงแรมฮาลาล กรณีศึกษา จังหวัดกระบี่. วารสารราชพฤกษ์, 17(3), 122- 128.

ศูนย์วิจัยกสิกร. (2561). เกษตรอินทรีย์ไทยโอกาสก้าวไกล...หากภาครัฐเร่งยกระดับมาตรฐานการผลิต. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564, สืบค้นจาก http://www.positioningmag.com/content/เกษตรอินทรีย์ไทยโอกาสก้าวไกล...หากภาครัฐหากภาครัฐเร่งยกระดับมาตรฐาน.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2563). รายงานประจำปี สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก https://www.facebook.com/iACFS/photos/a.271178166235509/3037108592975772/?type=3&theater.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). รุกยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ สศก. เผยเกษตรกรได้ประโยชน์เต็มที่ ดันขีดความสามารถการแข่งขันเพิ่ม. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564, สืบค้นจาก http://www.organic.moc.go.th/th/news.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2564-2569). สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565, สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=12101&filename=index.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์ งานจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, สืบค้นจาก file:///C:/Users/5NPDL83/Desktop/FF/download-201910220 60242.pdf.

Amofah, O., Gyamfi, I., & Tutu, C. O. (2016). The influence of service marketing mix on customer choice of repeat purchase of restaurant in Kumasi, Ghana. European Journal of Business and Management, 8(11), 102-112.

Apirungruengsakul, N., & Pasunon, P. (2020). Marketing innovative driven to E-commerce. Panyapiwat Journal, 12(1), 1-14.

Aryee, S., Walumbwa, F. O., Zhou, Q., & Hartnell, C. (2012). Transformational Leadership, Innovative Behavior, and Task Performance: Test of Mediation and Moderation Processes. Human Performance, 25(1), 1-25.

Attiq, S., Wahid, S., Javaid, N., & Kanwal, M. (2017). The impact of employees’ core self-evaluation personality trait, management support, co-worker support on job satisfaction, and innovative work behaviour. Pakistan Journal of Psychological Research, 22, 247-271.

Carpinetti, L. C. R., & Lima, R. H. P. (2009). Performance management in SME clusters: current and future research on some Brazilian industrial clusters. In IIE Annual Conference. Proceedings (p. 338). Institute of Industrial and Systems Engineers (IISE).

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297–334. doi:10.1007/bf02310555.

Day, G. S., & Wensley, R. (1988). Assessing advantage: a framework for diagnosing competitive superiority. Journal of marketing, 52(2), 1-20.

Haddad, M. I., Williams, I. A., Hammoud, M. S., & Dwyer, R. J. (2019). Strategies for implementing innovative in small and medium-sized enterprises. World Journal of Entrepreneurship, Management and Sustainable Development: WJEMSD, 16(1), 12-29.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2014). Multivariate data analysis. (7th ed.). Harlow: Pearson Education Limited.

Henard, D. H., & Szymanski, D. M. (2001). Why some new products are more successful than others? Journal of marketing Research, 38(3), 362-375.

Hult, G. T. M., Snow, C. C., & Kandemir, D. (2003). The role of entrepreneurship in building cultural competitiveness in different organizational types. Journal of management, 29(3), 401-426.

Hult, T. M., Hurley, R. F., & Knight, G. A., 2004. Innovativeness: Its Antecedents and Impact on Business Performance. Industrial Marketing Management, 33, 429-438.

Indrawati, H., Caska, & Suarman (2020). Barriers to technological innovatives of SMEs: how to solve them?". International Journal of Innovative Science, 12(5), 545-564.

Janssen, O. (2000). Job demands, perceptions of effort-reward fairness and innovative work behaviour. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 73(3), 287–302.

Jaworski, B. J., & Kohli, A. K. (1993). Market orientation: antecedents and consequences. Journal of marketing, 57(3), 53-70.

Jaworski, B. J., & Kohli, A. K. (1996). Market orientation: review, refinement, and roadmap. Journal of Market-Focused Management, 1(2), 119-135.

Jones, J. P. (1996). The effect of a market orientation on small business performance. Florida: Nova Southeastern University.

Kong, Y., & Li, M. (2018). Proactive personality and innovative behavior: The mediating roles of job-related affect and work engagement. Social Behavior and Personality: an international journal, 46(3), 431-446.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2021). Principle of marketing (18thed.). New York: Pearson Education.

Narver, J. C., & Slater, S. F. (1990). The effect of a market orientation on business profitability. Journal of marketing, 54(4), 20-35.

Narver, J. C., Slater, S. F., & MacLachlan, D. L. (2000). Total market orientation, business performance, and innovative (Vol. 116). Cambridge, MA: Marketing Science Institute.

Noefer, K., Stegmaier, R., Molter, B., & Sonntag, K. (2009). A great many things to do and not a minute to spare: Can feedback from supervisors moderate the relationship between skill variety, time pressure, and employees' innovative behavior?. Creativity Research Journal, 21(4), 384-393.

Othman, B. A., Harun, A., Rashid, W. N., Nazeer, S., Kassim, W. M., & Kadhim, K. G. (2019). The influences of service marketing mix on customer loyalty towards Umrah travel agents: Evidence from Malaysia. Management Science Letters, 6, 865–876.

Pelham, A. M. (2000). Market orientation and other potential influences on performance in small and medium-sized manufacturing firms. Journal of small business management, 38(1), 48-67.

Ren, F. F., & Zhang, J. H. (2015). Job Stressors, Organizational Innovative Climate, and Employees’ Innovative Behavior. Creativity Research Journal, 27(1), 16-23.

Ruekert, R. W. (1992). Developing a market orientation: an organizational strategy perspective. International journal of research in marketing, 9(3), 225-245.

Schenker, J. L. (2022). How SMEs Can Build Future-Ready Businesses. The Innovator. (Online.) Retrieved June, 28, 2022 from https://theinnovator.news/how-smes-can-build-future-ready-businesses/.

Scott, S. G., & Bruce, R. A. (1994). Determinants of innovative behavior: A path model of individual innovative in the workplace. Academy of management journal, 37(3), 580-607.

Soonthonsmai, V. (2017). Relationships between Market orientation, Entrepreneurship and Business Performance of the Small Spa Enterprises in Pattaya, Thailand. Canadian International Journal of Social Science and Education, 12(June), 247-271.

Taiminen, H. M., & Karjaluoto, H. (2015). The usage of digital marketing channels in SMEs. Journal of Small Business and Enterprise Development, 22(4), 633-651.

Tsai, W. (2001). Knowledge transfer in intraorganizational networks: Effects of network position and absorptive capacity on business unit innovative and performance. Academy of management journal, 44(5), 996-1004.

Yotkaew, P. (2021). Digital Marketing and Lifestyle Changes in Thai Society. Journal of Multidisciplinary Academic Research and Development, 3(1), 11-22.

Zahra, T. T., Ahmad, H. M., & Waheed, A. (2017). Impact of Ethical Leadership on Innovative Work Behavior: Mediating Role of Self-Efficacy. Journal of Behavioural Sciences, 27(1), 93-107.