การพัฒนาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ภายใต้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นกระบวนทัศน์ทางด้านการบริหารจัดการแนวใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิผลขององค์การโดยการใช้ทุนองค์ความรู้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนองค์การ จากบริบทของสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารองค์กรเข้าใจสถานการณ์และความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์การที่ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจปัญหาของลูกค้าและการสร้างตัวแบบในการแก้ปัญหาที่มีความเฉพาะตัว ผ่านทดสอบอย่างเป็นระบบก่อนส่งมอบผลแก่ลูกค้า การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ภายใต้กระบวนการคิดเชิงออกแบบจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจการจัดที่ดินและพัฒนาอาชีพเกษตรกร มีการดำเนินงานโดยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสหวิชาชีพ ปัจจุบันหน่วยงานกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านการปัญหาความต้องการรับการจัดที่ดิน ในขณะที่บุคลากรในหน่วยงานยังขาดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้วยกัน บทความนี้นำเสนอแนวคิดของการพัฒนาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อยกระดับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานรัฐ ให้มีสมรรถนะสูง ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
กฤษณะ ดาราเรือง. (2558). ตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 21(2), 133–148.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข และธีทัต ตรีศิริโชติ. (2565). แนวทางการพัฒนานวัตกรรมทางด้านการจัดการโดยใช้หลักการคิดเชิงออกแบบ. วารสารนักบริหาร, 42(1), 145-161.
ธีรพันธ์ เชิญรัมย์. (2563). องค์การแห่งการเรียนรู้: การเรียนรู้จากการปฏิบัติ.วารสารวิจัยวิชาการ, 3(1), 185-196.
ธีทัต ตรีศริโชติ, กฤษดา เชียรวัฒนสุข, นพดล เดชประเสริฐ และอำนาจ สาลีนุกุล. (2565) การคิดเชิงออกแบบของการบริการ Service design thinking. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 5(2), 96-107.
ภิมพ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : สู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(5), 337-351.
ภาวนา จันทรสมบัติ, สุบัน มุขธระโกษา และสังวาลย์ เพียยุระ. (2561). แนวทางการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของหน่วยงานระดับคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 149-162.
วิจารณ์ พาณิชย์ (2550) ผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม อ้างถึงใน สมชาย รัตนคช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, เอกรินทร์ สังข์ทอง, และ ชวลิต เกิดทิพย์ (2558) การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(3), 61-77.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2555). พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518. กรุงเทพฯ: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2564). แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566- 2570) ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2564). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. สืบค้นเมือ 10 มกราคม 2566, สืบค้นจาก https://legal.ops.moc.go.th/th/content/category/articles/id/772/cid/511.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). เนื้อที่การใช้ประโยชน์การเกษตร ราย สืบค้นเมือ 10 มกราคม 2566, สืบค้นจาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/LandUtilization2562.pdf
อัญญาณี เทศประสิทธิ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรกรมการศาสนา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอกพล สุมานันทกุล, ภารดี อนันต์นาวี, สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ และเรณา พงษ์เรืองพันธุ์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสุมานันท์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 18-31.
เอกกนก พนาธำรง. (2559) มุ่งสู่…องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ด้วย KM. เวชบันทึกศิริราช, 9(2), 90-92.
Cousins, B. (2018). Design Thinking: Organizational Learning in VUCA Environment. Academy of Strategic Management Journal, 17(2), 1-18.
Dune, D., & Martine, R. (2006). Design thinking ans how it will change management education: An Interview and Discussion. Academy of Management Learning, 5(4), 512-523.
Marquardt. (1996). Building the Learning Organization. New York: McGraw-Hill.
Senge, P. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of Learning Organization. New York: Doubleday Currency.