รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เมืองมรดกโลก)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมถึงศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุและเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบประสานวิธี โดยรวมการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลทำโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง การสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 13 คน และการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้แทนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับข่าวสารการท่องเที่ยวผ่านสื่อ Facebook และจากคนรู้จักมากที่สุด ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดกับครอบครัวเพื่อการพักผ่อน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ และการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สะดวก การจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุควรพิจารณา 4 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านการสนับสนุนการท่องเที่ยว (2) ปัจจัยด้านสร้างความเป็นพระนครศรีอยุธยา (3) ปัจจัยด้านการบริหารความร่วมมือ และ (4) ปัจจัยด้านนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการท่องเที่ยว ได้แก่ (1) ควรทบทวนแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (2) กำหนดประเด็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเป็นวาระของจังหวัด (3) บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคท้องถิ่น (4) พัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (5) พัฒนาฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเพื่อการวางแผน และ (6) ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
Chulta, W. (2019). Development of Health Tourism Destination of Nakhon Si Thammarat. Journal of Southern Technology, 13(1),191 -199.
Global Wellnwss Institute. (2024). Renewed partnership highlights Thailand on GWI’s Geography of Wellness with fresh insights into the country’s evolving wellness economy. Retrieved March, 15, 2024 from https://globalwellnessinstitute.org/press-room/press-releases/geo-thailand-renewal/.
Kasemsuk, W., Meekusol, S., Waiwong, S., & Petchroung, N. (2021). Participatory Health Promotion Guidelines for Older Adult Through Health Tourism Integrated with Cultural Tourism and Thai Wisdom: Case Study of Ayutthaya Province. Journal of The Police Nurses, 13(1), 13-23.
Meekusol, S. Kasemsuk, W., Tantiwongsekunakorn, A., & Siripukdeekan, C. (2020). State and Needs for Health Tourism Integrated with Cultural Tourism and Thai wisdom Case Study of Ayutthaya Province: Stakeholders Perspective. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 21(3), 459-462.
Ministry of Tourism & Sport. (2024). Domestic Tourism Statistics Q1-Q4 (Classify by region and province). Retrieved 16 June 2024. https://www.mots.go.th/news/category/766.
Naksanee, T. (2018). The Guidelines for Health Tourism Development in the Western Region for the Senior Thai (Research Report). Muban Chombueng Rajabhat University.
Pensap, S., & Sangsiriroj, P. (2012). Behavior and Satisfaction of Thai Tourists towards Tourism, Raksawarin Hot Spring, Ranong Province, Thailand (Research Report). Suan Sunandha Rajabhat University.
Rattanapaijit, N., Keiwrod, R., & Nuang-Uthai, T. (2019). Factors Affecting their Health Tourism Behavior in Nakhon Si Thammarat Province. Ph.D. in Social Sciences Journal, 9(3), 692-704.
Seriratana, S., Laksitanon, P., & Seriratana, S. (2009). New marketing management. (revised ed.). Bangkok: Thammasat.
Siripanich, B. (1999). Elderly people in Thailand. Bangkok: Council of the Elderly of Thailand. travel booklet.
Tansiri, P. (2021). Economics of Tourism Behavior in Phranakhon Si Ayutthaya. Journal of Management Science Review, 23(1), 185-194.
The Fine Arts Department. (n.d.). Phra Nakhon Si Ayutthaya Historical Park. Retrieved March, 15, 2024 from https://www.finearts.go.th/main.
Tourism Authority of Thailand. (2007). Tourism behavior of elderly tourists. E-TAT Tourism Journal, 2(2), 1-7.
Yodphet, S. (2001). Social welfare for older persons: concept and method for social work practice. Bangkok: Mister Copy (Thailand) Company Limited.
Surat Thani Provincial Public Health Office. (n.d.). health tourism. Retrieved March, 15, 2024 from https://xn-22cehaco3gb0etasham2az7ci5bmc7hj7av8frke8tf2c.com/news.