การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยตามหลักการบูรณาการและแบบมุ่งเน้นประสบการณ์เพื่อการสื่อสาร

Main Article Content

วิลาสินี นคราวนากุล

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยตามหลักการบูรณาการและแบบมุ่งเน้นประสบการณ์เพื่อการสื่อสารครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยฯ (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยฯ (3) เพื่อศึกษาการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยฯ (4) เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ระยะที่ 1 ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครู 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 3 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน ระยะที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ครู จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน ระยะที่ 4 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน, ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระยะที่ 1 แบบสัมภาษณ์ชนิดแบบมีโครงสร้างเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการการพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 2 แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนและการประชุมกลุ่มย่อย ระยะที่ 3 แบบมาตราส่วนประเมินค่าวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยฯ ระยะที่ 4 แบบประเมินผลวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยตามหลักการบูรณาการและแบบมุ่งเน้นประสบการณ์เพื่อการสื่อสารและการประเมินด้านคุณภาพต่อผลการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับรองผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฯ


ผลการวิจัยพบว่า
ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยฯ โดยการสัมภาษณ์ชนิดแบบมีโครงสร้างมีความต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบ
ระยะที่ 2  การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยฯ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
ระยะที่ 3 ผลทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยฯ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) ผลประเมินพบว่า ผลการประเมินหลังเรียนสูงกว่าผลการประเมินก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ระยะที่ 4 ผลการประเมินผลด้านเจตคติของนักเรียนมีเจตคติหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้มีผลอยู่ในระดับมากการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการประเมินพบว่า อยู่ในระดับมาก และรับรองว่ารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยตามหลักการบูรณาการและแบบมุ่งเน้นประสบการณ์เพื่อการสื่อสารมีคุณภาพ


โดยสรุป การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับศิลปะมวยไทยตามหลักการบูรณาการและแบบมุ่งเน้นประสบการณ์เพื่อการสื่อสาร ทำให้ได้รูปแบบการเรียนการสอนคู่มือการใช้และแผนการจัดการเรียนรู้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2555). หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ชวลิต ชูกำแพง. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2555). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรรณวร บุญประเศรษฐผล. (2552). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์สำหรับ

นักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน,

คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

พระมหาโสพล จันทร์ฤทธิ์, ปรีชา สุขเกษม และ ประเสริฐ เรือนนะการ. (2553). การเปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูด

ภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการ

เรียนแบบร่วมมือตามเทคนิค STAD กับกิจกรรมการเรียนตามคู่มือครู. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์,

(2), 117-130.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัชฎา ทับเทศ. (2554). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา

เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.

(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

รำไพ โพธิ์จิต. (2547). การใช้เกมและกิจกรรมทางภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ,

คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ศรัณย์รัตน์ ฉวีพัฒน์ และบัญญัติ ชำนาญกิจ. (2554). การศึกษาผลการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิค

การเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 6(16), 31-44.

สุภณิดา ปุสุรินทร์คำ. (2549). การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้วยวิธีการเรียน

แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นชุมชนนักปฏิบัติของครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน

ของกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะครุศาสตร์,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). เอกสารประกอบคำอธิบายการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย. กรุงเทพฯ:

ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย.

อรพรรณ วีระวงศ์. (2557). มศว. ระบุเด็กไทยเรียนอังกฤษเพื่อสอบพูดอ่อนแอมาก. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก

http://education.kapook.com/view35353.html.

Beard, C., & Wilson, P. J. (2002). The power of experiential learning. N.P.: A handbook for trainers

and educators.

Clark, D. (2003). Instructional system design-analysis phase. Computing in Childhood Education. 1, 3-27

Retrieved from http://www.nwlink.com/hrd/sat2.html.

Cussanda, J. (2010). Why does Thailand have the lowest English standard in South East Asia? The

education system is to blame. Retrieved from http://superitchy.com/.

Johnson, D.W. & Johnson, R.T. (1974). Instructional goal structure: Cooperative, Competitive, or

individualistic. Review of Educational Research, 44, 213-240.

Joyce, B. & Weil, M. (1996). Models of teaching (5thed.). London: Allyn and Bacon.

Joyce, B. R., Weil, E. A., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching (7thed.). Boston:

Allyn and Bacon.

Kemp, J. E., Morrison, G. R., & Ross, S. M. (1996). Designing effective instruction (2nded.).

Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Kolb, D. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development.

Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

McGee, M. G., & David, W. W. (1984). Psychology: Science and application. Minnesota:

West Publishing Company.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, research, and practice (2nded.). Boston: Allyn and Bacon.

Triandis, H. C. (1971). Attached and attitude change. New York: John Willey and Sons.