การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในวิถีปกติใหม่ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

Main Article Content

สุชาติ พุทธลา

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในวิถีปกติใหม่ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในวิถีปกติใหม่ และ 3) ศึกษาผลการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในวิถีปกติใหม่ การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการบริหารจัดการ ผลการศึกษาพบว่าการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาพบว่า สถานศึกษามีปัญหาคุณภาพการศึกษา คุณภาพการจัดการเรียนรู้ และคุณภาพผู้เรียน การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในวิถีปกติใหม่เป็นกลยุทธ์และแนวทางเกื้อหนุนให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ในตำแหน่งกลยุทธ์ตั้งรับหรือป้องกันตัว เพื่อพยายามลดอุปสรรคต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและหามาตรการที่ทำให้เกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในวิถีปกติใหม่มี 8 องค์ประกอบได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นกลยุทธ์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด แนวทาง และโครงการ ผลการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในวิถีปกติใหม่ พบว่าการดำเนินงานโครงการตามกลยุทธ์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในวิถีปกติใหม่ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการดำเนินงานบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการจัดการเรียนรู้ในวิถีปกติใหม่ของสถานศึกษาพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกลยุทธ์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในวิถีปกติใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม. (2563). “ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 จังหวัดมหาสารคาม,” 1-3; 18 มีนาคม.

สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. (2564). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19 จากบทเรียนต่าง ประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์. เข้าถึงได้จาก https://tdri.or.th/2020/05/ examples-of-teaching-and-learning-in-covid -19-pandemic/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2564). รายงานผลการนิเทศการศึกษาการดำเนินงานและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564ก). คู่มือการประเมินตัวชี้วัดตามมาตรการปรับ ปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

________. (2564ข). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

________. (2564ค). รายงานสรุปผลการติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19: วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

CS&A International. (2021). The role of eLearning in crisis resilience. Accessed April 15. Available from https://crisis-response.com/Articles/593184/The_role_ of.aspx

Lichtenstein, Robert, David J. Schonfeld and Marsha Kline. (1994). “Special topic/school crisis response: Expecting the unexpected. Educational leadership, 52 (3): 79-83; November.

Teacher Task force and UNESCO. (2021). 7 ways to help teachers succeed when schools reopen. Accessed May 15. Available from https://www.globalpartnership.org/blog/7-ways-help-teachers-succeed-when-schools-reopen