การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง

Main Article Content

บรรพต วงศ์ทองเจริญ
วิชญา วงศ์ทองเจริญ
ภธรเดช เครือแสงธรรม
ภัคจีรา สุดสายเนตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80)  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง  3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2564  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน  สถิติที่ใช้ ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่า E1/E2


 ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ   80.13/85.63
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการเรียน
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง  อยู่ในระดับมากที่สุด  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา เสถบุตร. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา การวัดผลประเมินผลทางการศึกษา ภาควิชาวัดและประเมินผล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรัชพล ชั้วเจริญ. (2559). ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีระดับความสามารถในการอ่านต่างกัน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด.

(สาขาเทคโนโลยีการศึกษา). นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-Book หนังสือพูดได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส.

วัชรพัฒน์ ศรีคำเวียง. (2561). วิทยาการคำนวณ (Computing Science). สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน

จาก https://www.scimath.org/lesson-technology/item/8808-computing science

ไพรัชช์ จันทร์งาม, อนล สวนประดิษฐ์. (2564). การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้

โปรแกรม Geogebra เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาการวิเคราะห์เชิงตัวเลข

สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(1), 55-66.

สุนันทา ยินดีรมย์ . (2556) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (สาขาหลักสูตร

และการสอน). ปทุมธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม

ราชูปถัมภ์.

อาทิตยา บุญเกิด. (2557). การสร้างบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับเทคโนโลยีผสานความเป็นจริง

วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้งานคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อนัญญา บุญมาก เกษรัตน์ เคยการ และจักรพงษ์ วารี. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

เรื่อง องค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ด้วยสื่อโมชันกราฟิกร่วมกับ

วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วารสารครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(2), 17-33.