ผลการพัฒนาครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ปริญา ปริพุฒ
พีรญา ทองเฉลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ 1) ความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้  2) ความสามารถด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ หลังการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์คิดเป็นร้อยละ 41.18 แสดงว่า ครูมีพัฒนาการของความสามารถในการจัดการเรียนรู้ระดับกลาง 2) ความสามารถด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีร้อยละของคะแนนพัฒนาการเท่ากับ 56.85 แสดงว่า นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ในระดับสูง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัมพล เจริญรักษ์. (2560). การสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อปฏิรูปโรงเรียน. วารสารวิชาการ, 19(2), 30-45.

คณะครุศาสตร์. (2563). รายงานผลโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ ประจำปี 2563 ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี. (อัดสำเนา)

ชวลิต ชูกำแพง. (2559). การปฏิรูปโรงเรียน แนวความคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” กับการนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: ปิโก (ไทยแลนด์).

ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู. วารสารการวัดผลการศึกษา, 23(2), 1-6.

ชวลิต ชูกำแพง. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่การวิจัยในชั้นเรียน. วารสารครุทรรศน์, 1(1), 49-59.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2565). การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ และคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายขนาดเล็ก. วารสารศิลปการจัดการ, 6(4), 1756-1772.

ทิศนา แขมมณี. (2547). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน (ชุดโครงการ วพร.).กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประวิต เอราวรรณ์. (2560). ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบเพื่อคนทั้งมวล. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(1), 57-70.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศคณะกรรมการครุฯ เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับครุฯ ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา, 10-14. เข้าถึงได้จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/109/T_0010.PDF.

ศรีภาวรรณ ไสโสภา. (2566). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนตะคร้อพิทยา อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 18(2), 125-138.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สลิลนา ภูมิพาณิชย์ และคณะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 261-276.

สิริลักษณ์ บุ้งทอง และ ตรีคม พรมมาบุญ. (2563). การพัฒนาความสามารถของครูภาษาไทยในการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพด้าน การอ่าน

การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านละเอาะอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(1), 257-272.