การศึกษาความต้องการจำเป็นจากประสบการณ์ผู้ใช้ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

กิตติพล สุวรรณไตรย์
วรรณธิดา ยลวิลาศ
ปวีณา ขันธ์ศิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นจากประสบการณ์ผู้ใช้ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูในสอนรายวิชาคณิตศาสตร์สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 50 คน และนักออกแบบ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฟอร์มเก็บข้อมูลระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง แบบฟอร์มเก็บข้อมูลกำหนดแนวทางการสัมภาษณ์ และแบบสัมภาษณ์ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์จากประสบการณ์ผู้ใช้ การวิจัยนี้ใช้การคิดเชิงออกแบบ ในระยะที่ 1 การวิเคราะห์และสำรวจ มี 3 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 2 นิยามปัญหา และขั้นที่ 3 การสร้างความคิด มาช่วยในศึกษาความต้องการจำเป็นความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการออกแบบนวัตกรรมส่งเสริมความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยทำการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ในขอบเขต 5 มิติ คือ บทบาท อารมณ์ความรู้สึก การรับรู้ เจตคติ และพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการของครู นักเรียนและนักออกแบบเกี่ยวกับการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ต้องการสื่อที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับเนื้อหาและบริบทของโรงเรียน 2) ประสบการณ์ของผู้ใช้เกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 5 มิติ พบว่า 2.1) มิติบทบาท ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่จัดการเรียนการสอนตามความถนัดของตัวเองโดยเน้นไปที่การสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้และบริบทของโรงเรียน 2.2) มิติอารมณ์ความรู้สึก ครูกลุ่มนี้มีความรู้สึกว่า นักเรียนค่อนข้างที่จะมีพื้นฐานอ่อน ต้องปรับเนื้อหาให้เข้ากับตัวผู้เรียน 2.3) มิติการรับรู้ ครูรับรู้จากการทำแบบฝึกหัดหรือผลสอบของนักเรียนที่ไม่ค่อนข้างอ่อน และไม่มีความกระตือรือร้นในเรื่องนั้นๆ 2.4) มิติเจตคติ ครูพบว่าเด็กไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ก็เลยขาดความใส่ใจ และ 2.5) มิติพฤติกรรม พฤติกรรมครูและนักเรียนให้ความร่วมมือในการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เช่น ยินดีนำนวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปใช้ในการจักการเรียนการสอนของตนเอง เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชรินรัตน์ ด้วงธรรม, และ วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. 2565. “การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ด้วย

การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5”. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(11), 372–89.

มาริษา นามกุล, และ ประกฤติยา ทักษิโณ. 2566. “การวิเคราะห์ปัจจัยด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ภายใต้โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PI-SA)”. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 29(1), 148–60.

สุทธารัตน์ บุญเลิศ, และ ธัญญา กาศรุณ. 2566. “การพัฒนางานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับกรอบการประเมินของ PISA เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน”. Journal of Roi Kaen-Sarn Academi, 8(6), 381–92.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยออกแบบทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). Office of the Basic Education Commission [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566, จาก https://academic.obec.go.th/images/doc-ument/1572317446_d_1

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล. (2557). SERVICE DESIGN WORKBOOK คู่มือการออกแบบบริการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

Genc, M. & Erbas, A. K. (2019). Secondary Mathematics Teachers' Conceptions Of Mathemat-ical Literacy. International Journal of Education in Mathematics, Science and Technology, 7(3), 222-237.

Haara, F. O., Bolstad, O. H., & Jenssen, E. S. (2017). Research on Mathematical Literacy in Schools--Aim, Approach and Attention. European Journal of Science and Mathe-matics Education, 5(3), 285-313.

Hardianti, S., & Zulkardi, Z. (2019, October). Students’ Mathematical Literacy Abilities in Solving PISA Type Math Problem with LRT Context. In Journal of Physics: Confer-ence Series, 1315(1), 012016.

Hassenzahl, M., & Tractinsky, N. (2006). User Experience-A Research Agenda. Behaviour &

InforMation Technology, 25(2), 91-97.

Holenstein, M., Bruckmaier, G., & Grob, A. (2021). Transfer Effects of Mathematical Literacy: An Integrative Longitudinal Study. European Journal of Psychology of Education, 36(3), 799-825.

Kolb, D. A. (2014). Experiential Learning: Experience As The Source of Learning and Develop-ment, FT Press.

Lazuardi, M. L. & Sukoco, I. (2019). Design Thinking David Kelley & Tim Brown: Otak Dibalik Penciptaan Aplikasi Gojek. Organum. Jurnal Saintifik Manajemen Dan Akuntansi, 2(1), 1-11.

Mandasari, N. (2021). Problem-Based Learning Model to Improve Mathematical Reasoning Ability. In Journal of Physics: Conference Series. 1731(1), 012041).

OECD. (2018). PISA 2022 Mathematics Framework (Draft). Online. Retrieved August 4, 2021. From : Https://Pisa2022-Maths.Oecd.Org

Pradana, A. R., & Idris, M. (2021). Implements’ User Experience Pada Perancangan User Inter-face Mobile E-Learning Dengan Pendekatan Design Thinking. Automata, 2(2).

Sagita, Laela, Ratu Ilma Indra Putri, Zulkardi, และ Rully Charitas Indra Prahmana. 2565. “Promising Research Studies Between Mathematics Literacy And Financial Literacy Through Project-Based Learning”. Journal on Mathematics Education, 13(4),753–72.

Syafitri, R., Putra, Z. H., & Noviana, E. (2020). Fifth Grade Students’ Logical Thinking In Mathematics. Journal of Teaching and Learning In Elementary Education (Jtlee), 3(2), 157-167.

Utari, T. S. G., Kartasasmita, B. G., & Julika, C. (2019). The Application Of Situation-Based Learning Strategy To Improve Literacy Skills, Mathematical Problem-Solving Ability And Mathematical Self-Efficacy At Senior High School Students. International Jour-nal of Innovation, Creativity And Change, 6(1), 89-102.