จึงไม่มีเสียงครวญของมวลกรรมกร

Main Article Content

ศรัณย์ จงรักษ์

บทคัดย่อ

แม้พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ 2537 จะเป็นกฎหมายที่มักถูกอธิบายว่าบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครอง ช่วยเหลือ หรือให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างจากการประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงานให้แก่นายจ้างก็ตาม แต่ในความเป็นจริงสถิติของกองทุนเงินทดแทนกลับแสดงให้เห็นว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจำนวนของลูกจ้างที่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามที่พระราชบัญญัติเงินทดแทนกำหนดกลับมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความคิดและการตัดสินใจของลูกจ้างใน 2 ลักษณะ ประการแรก คือ ลูกจ้างเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิเพราะถูกปัจจัยแวดล้อม (ในที่ทำงาน) กดดัน ประการที่สอง คือ ลูกจ้างสามารถคาดหมายต่อผลแห่งคดีและตระหนักถึงอุปสรรคในรูปแบบต่าง ๆ ที่ตนต้องเผชิญระหว่างการใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องสิทธิ ปัจจัยทั้งสองประการดังกล่าวจึงทำให้ลูกจ้างตัดสินใจเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิ ด้วยคิดว่าการเลือกในทิศทางดังกล่าวคุ้มกว่าหรือเป็นประโยชน์แก่ตนมากกว่าที่จะเรียกร้องสิทธิที่มีตามกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิชาการ