พหุลักษณ์ ของ หยุด แสงอุทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ปัญญาชนหัวก้าวหน้าร่วมสมัยได้ตั้งคำถามต่อการสร้างคำอธิบายกฎหมายกระแสหลักโดยเฉพาะประเด็นเรื่องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ทั้งได้หันกลับไปศึกษาคำอธิบายของ หยุด แสงอุทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำอธิบายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำให้ หยุด ถูกพิจารณาในฐานะนักกฎหมายรัฐธรรมนูญนิยมอย่างมาก อันปรากฏขึ้นในหลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดเวทีวิชาการ บทความวิชาการ รวมถึงการตีพิมพ์ซ้ำตำรา เป็นต้น
บทความชิ้นนี้ต้องการที่จะพิจารณา หยุด แสงอุทัย ในมุมมองอื่นที่ต่างออกไป และถูกละเลยในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา กล่าวคือ บทบาทความเป็น “มือกฎหมาย” ของ หยุด แสงอุทัย ภายใต้รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และการสร้างคำอธิบายทางกฎหมายที่ประนีประนอมต่อการรัฐประหาร ทั้งนี้ การศึกษาในแง่มุมดังกล่าวจะทำให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของ หยุด แสงอุทัย ในมิติอื่นๆ อันจะทำให้สามารถเข้าใจและประเมินความคิดของบุคคลที่มีอิทธิพลในระบบกฎหมายไทยได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
“คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496” [The Supreme Court decision No. 45/1953]. Deka. Accessed February 12, 2018. https://deka.in.th/view-51212.html. (in Thai)
“ถนอม กิตติขจร (จอมพล)” [Thanom Kittikachorn (Marshal)]. King Prajadhhipok’s Institute. Accessed October 29, 2018. https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ถนอมกิตติขจร_(จอมพล). (in Thai)
Charnvit Kasetsiri. ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475 – 2500 [A Political History of Thailand Siam 1932 – 1952]. Bangkok: the Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks Project, 2008. (in Thai)
Gen. Por Piboonsongkharm. “คำขวัญของท่านนายกรัฐมนตรี” [Motto of the Prime Minister]. Parliament Journal, Year 1 No. 1 December 1952. Pranakorn : Karn rod fire Pubish. (1952). (in Thai)
Nattapoll Chaiching, “ความชอบด้วยระบอบ”: วิวาทะว่าด้วยอำนาจของ “รัฏฐาธิปัตย์” นำคำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ (2475-2500) [the Legitimacy of the System”: the Controversial ideas on Sovereignty and the Constitutional Explanation (1932 – 1957)]. Art and Culture Magazine 28, No. 03 (2007). (in Thai)
Nattapoll Chaiching. “ประวัติศาสตร์การเมืองว่าด้วยหมวดพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ : การต่อสู้ระหว่างนักกฎหมายไทย 2 สำนัก” [The Political History on the article of the King in the Constitution: the confrontation between the two groups of Thai legal intellectuals]. Same Sky 6, No. 3 (2008). (in Thai)
Nattapoll Chaiching. การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491 – 2500) [Thai Politics in Phibun’s Government under the U.S. World Order (1948 – 1957)]. The Degree of Doctor of Philosophy Program in Political Science, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University. 2009. (in Thai)
Nattapoll Chaiching. ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475 – 2500) [“To Dream the Impossible Dream”: the movement of anti-Siam revolution (1932-1957)]. Nontraburi: Same Sky Book, 2013. (in Thai)
Nithinee Thongtae. “สถาบันพระมหากษัตริย์กับกระบวนการสร้างรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีว่าด้วยการ รัฐประหาร” [Thai monarch and the process of creating customary constitution on coup d’etat]. CMU Journal of law and Social Sciences 5, No. 2 (2012). (in Thai)
Pridee Kasemshep. นิติปรัชญา [Philosophy of Law]. Bangkok: Faculty of Law, Thammasart University, 2005. (in Thai)
Priyabutr Saengkanokkul. ในพระปรมาภิไธย ประชาธิปไตยและตุลาการ [In the name of His Majesty the King Rama IX” and Judiciary]. Bangkok: Openbooks, 2009. (in Thai)
Priyabutr Saengkanokkul. รัฐธรรมนูญ : ประวัติศาสตร์ข้อความคิด อำนาจสถาปนา และการเปลี่ยนผ่าน[Constitution: Intellectual History, Power of Establishment and Transition]. Nontraburi: Same Sky, 2016. (in Thai)
Saichon Satayanuruk. 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 2 ปัญญาชนหลังการปฏิวัติ 2475 [10 Siamese Intellectuals vol. 2: The Post-1932 Revolution Intellectuals]. Bangkok: Open Society, 2014. (in Thai)
Somchai Preechasinlapakun. “การปรองดองกับอำนาจนิยมของนักนิติศาสตร์ไทยกระแสหลัก” [The Harmony with the power of the mainstream Thai Lawyer]. Same Sky 9, No.1 (2001). (in Thai)
Suthachai Yimprasert. ‘แผนชิงชาติไทย’ ว่าด้วยรัฐ และการต่อต้านรัฐสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม [Collusion Plan, State, and Insurgency in Thailand under the era of Por Phibunsongkhram]. Bangkok : P-press, 2010. (in Thai)
Thak Chaloemtiarana. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ [Thailand: The Politics of Despotic Paternalism]. Bangkok: Thammasart Publish, 2005. (in Thai)
Thongchai Winichakul. ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง [Monarchical Democracy]. Nontraburi: Same Sky, 2013. (in Thai)
Worajet Pakeerat. “เสวนา เรื่อง สถาบันพระมหากษัติย์กับรัฐธรรมนูญ” [Conference on the Monarchical Institution and Constitutions]. Prachatai. Accessed January 30, 2018. https://prachatai.com/journal/2008/07/17284. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. “การร่างกฎหมาย” [To Draft the Laws]. Thammasat Law Journal 1, No. 2, December (1972). (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. “ความรู้เกี่ยวกับเทศบาลสำหรับประชาชน” [The Introduction to Municipalities for Citizens]. Parliament Journal 4, No. 9, February 1956. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 10)” [Introduction to Democracy (Part 10)]. Parliament Journal 4 No. 29, July 1956. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 34)” [Introduction to Democracy (Part 34)]. Parliament Journal 5, No. 36, August 1957. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชาธิปไตย” [Introduction to Democracy”. Parliament Journal 4, No. 3, December 1955. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. “พรรคการเมือง” [The Political Party], Parliament Journal 1, No. 1, December 1952. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. “วัฒนธรรมทางเนติธรรมกับรัฐสภา” [The Culture of the Rule of law and the Parliament]. Parliament Journal 1, No.4, March 1953. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. คำถาม-คำตอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย : พร้อมทั้งคำแปลเป็นภาษาอังกฤษธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร 2502 [Questions and Answers on Thai Constitutions (with English translation version of the 1956 Constitution)]. Bangkok: Santhisuk, 1956. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. คำบรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [The Introduction to Constitutional Law by Faculty of Political Science, Thammasat University]. Bangkok: Thammasat University, 1972. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. คำบรรยายกฎหมายอาญาสำหรับประชาชน (ทางวิทยุกระจายเสียง) [Criminal Law for Citizens (via radio broadcasting)]. Pranakorn: Ruamsarn Pubish, 1953. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. คำอธิบายธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2515 [The Introduction to the Constitution of Thailand B.E. 1972]. Bangkok: Nitibannakarn, 1972. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐธรรมนูญทั่วไป [Thai Constitutions and the General Constitutions]. Pranakorn: Thammasart University, 1957. (in Thai)
Yoot Saeng-Uthai.คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ [The Introduction to the 1968 Constitution and the 1972 Charter for Governance]. Bangkok: Winyuchon, 2008. (in Thai)