ในปีที่ 47 ของพลเมืองโดยหลักดินแดนที่ถูกทำให้เป็นอื่น

Main Article Content

Darunee Paisanpanichkul

บทคัดย่อ

นับเป็นระยะเวลายาวนานที่การถูกนับรวมเป็นพลเมืองได้กลายเป็นฝันร่วม-ที่เดินไกลของคนไร้สัญชาติ (Stateless Person) กลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย เหตุผลหลักประการหนึ่งนั้นสืบเนื่องจากแนวคิดเรื่องความมั่นคงของชาติที่ส่งผลต่อแนวคิดในการกำหนดเงื่อนไขการได้มา-เสียไป-กลับคืน ในกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของประเทศไทย นับตั้งแต่พ.ร.บ.แปลงชาติ พ.ศ.2454 จนถึงกฎหมายสัญชาติฉบับปัจจุบันคือพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งมีการแก้ไขปรับปรุง ในปีพ.ศ. 2515, พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2551 และพ.ศ. 2555 โดยการแก้ไขกฎหมายแต่ละครั้งได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงลดทอนและเปิดกว้างโอกาสการเข้าถึงสัญชาติไทย โดยเฉพาะการมีสัญชาติไทยตามหลักดินแดน (Jus Soli) นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาลแต่ละช่วงเวลา (มติคณะรัฐมนตรี) ยังมีส่วนอย่างสำคัญต่อการกำหนดเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ


ในวาระครบรอบสามสิบปีของการเกิดขึ้นของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on Rights of the Child) ซึ่งผูกพันประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี บทความฉบับนี้จึงมุ่งทบทวนถึงความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย นโยบายของรัฐไทยในการยอมรับนับรวมเด็ก (และอดีตเด็ก)  ไร้สัญชาติเข้าเป็นพลเมืองตามกฎหมาย โดยเฉพาะ “พลเมืองโดยหลักดินแดน” ข้อสรุปก็คือ  เดิมประเทศไทยมีนโยบายเปิดกว้างรับคนต่างชาติเข้าเป็นพลเมืองไทยโดยหลักดินแดน โดยไม่คำนึงถึงลักษณะการเข้าเมือง ดังนั้นคนอพยพย้ายถิ่นกลุ่มต่างๆ ที่เข้าเมืองโดยปราศจากเอกสารการเข้าเมืองที่ถูกต้อง ก็มีโอกาสเข้าถึงสิทธิในสัญชาติไทย จนกระทั่งความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายนโยบายในปี 2496, ปี 2515 และที่สำคัญในปี  2535 ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลให้เกิดสภาวะไร้สัญชาติอย่างสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดี นับจากปี  2551 กฎหมายนโยบายได้กลับมาเปิดกว้างอีกครั้ง และโดยบังเอิญ บทความฉบับนี้พบว่า ไม่เพียงแต่กลุ่มผู้อพยพไร้สัญชาติและครอบครัวจะถูกลดทอนโอกาสการเข้าถึงสัญชาติไทย โดยผลจากกฎหมายนโยบายในชุดรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร แต่โอกาสในการเข้าถึงสัญชาติไทยที่ถูกเปิดกว้างมากขึ้นก็เกิดขึ้นในบางช่วงเวลาของรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Cabinet Resolution as of December 7, 2016 “เรื่องอนุมัติหลักเกณฑ์การให้สัญชาติไทยเพื่อการแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียน นักศึกษาและบุคคลไร้สัญชาติที่เกิดในไทยราชอาณาจักรไทย” [ Criteria for accessing to Thai Citizenship of Stateless Student and Stateless person who were born in Thai Territorial ] , (in Thai).

Chalit Dhawannakitkul, “บทวิเคราะห์แนวความคิดทางการเมืองเบื้องหลังพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508” [ An Analysis of Political Concept Behind the 1965 Nationality Act” ], the Degree of Master of Arts in Government, Department of Government, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University, 2004, (in Thai).

Darunee Paisanpanichkul and Chartchai Amornlertwattan, Report No.2 : Developing Legal Status To Be a Permanent Residence : Case Study on Ethnic Groups, the Project on Development and Knowledge Movement for a Well-Being of Stateless person and Undocumented Stateless person, Thai Health Promothon Foundation, October 2015.

Darunee Paisanpanichkul and Chuti Ngam-urulert “Nationality Procedures in Thailand: Bottlenecks Analysis and Recommendations in Addressing Implementation Challenges, United Nation High Commissioners for Refugees (UNHCR), Thailand, 2017

Ministry of Interior, Department of Provincial Administration, “โครงการสัมมนาร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนบนพื้นที่สูง ประจำปี 2549” [ Seminar on Cooperation of Government and Non-Government Organizations for developing and solving problem in High land’s communities, B.E. 2549 ] , (in Thai).

Ministry of Interior, Department of Provincial Administration, “คู่มือการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 ธันวาคม 2553” [Hand Book for Cabinet Resolution as of December 7, 2016’s Implementation], (in Thai).

Kachadpai Burutpat, “ญวนอพยพ”, [Vietnam Displace Person], Bangkok : Duangkamol Publishing, 1978, (in Thai).

Thananan Boonwanna, “นโยบายชาวเวียดนามอพยพของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ.2491-2500”, [The policy of the Phibulsonggram regime regarding Vietnamese refugees in Thailand 1948-1957], the Degree of Master of Arts in History, Department of History, Faculty of Art, Chulalongkorn University, 2002, (in Thai)

Saichol Sattayanurak, “ประวัติศาสตร์ รัฐไยและสังคมไทย” [History, Thai State and Thai Socity], Chiang Mai: Chiang Mai University Press, 2015, (in Thai).

Somchai Preechasilpakul, “เขาถูกบังคับให้ไร้สัญชาติ”, [s/he was forced to be Stateless person], Matichon Newspaer, 2005, (in Thai).