มาตรการทางกฎหมายในการกำกับควบคุมข่าวปลอมทางการเมืองบนโลกไซเบอร์

Main Article Content

รัตนาภรณ์ จอมมูล

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้จะพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของข่าวปลอมหรือข้อมูลปลอม (เรียกรวมๆ ว่า Fake News) เพื่อให้เห็นผลกระทบและรูปแบบที่หลากหลายของปัญหานี้ ผู้เขียนจะพิจารณากรณีการใช้ข่าวปลอมทางการเมือง ที่สร้างผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งโดยกลุ่มที่มีการจัดตั้งจากรัสเซีย และโดยผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกที่รัฐอลาบามา รวมทั้งการเกิดข่าวปลอมทางการเมืองในประเทศไทยอีกด้วย


          แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลระบุว่าข่าวปลอมส่งผลกระทบมากขนาดเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งหรือไม่ แต่ผลกระทบด้านลบอื่นๆ ของข่าวปลอมต่อการรับรู้และแสดงความคิดเห็นของคนในสังคมนั้นค่อนข้างชัดเจน  การตระหนักถึงผลกระทบของข่าวปลอมที่เผยแพร่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ในวงกว้าง น่าจะเริ่มจากการเลือกตั้งประธานาธิปดีในปี 2016 ที่ผ่านมา มีการพบการใช้ข่าวปลอมผ่านทางเครือข่ายสังคมทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ รวมไปถึงอินสตาแกรม เพื่อบิดเบือนผลการเลือกตั้ง มีการสร้างเครือข่ายข่าวปลอมที่ประกอบด้วยโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ จากนั้นมีการใช้ผู้ใช้ปลอมที่เป็นบอท ในการทำให้ข่าวดังกล่าวแพร่กระจายบนเครือข่ายสังคม ข่าวปลอมดังกล่าวมีหลายรูปแบบ


          ปัญหา “ข่าวปลอม” หรือ (Fake news) ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ เพราะได้สร้างผลกระทบต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน โดยภาครัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการประกันสิทธิเสรีภาพดังกล่าว  ทั้งในรูปแบบมาตรการทางเทคนิคและทางกฎหมาย ทั้งนี้รัฐควรเลือกระบบการกำกับควบคุมข่าวปลอมหรือกลไกที่เหมาะสม ในการตรวจสอบแหล่งที่มาและกรองเนื้อหาข่าวที่แม่นยำให้แก่ประชาชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Barbara Alvarez. “FEATURE | Public Libraries in the Age of Fake News, Public libraries online.” Accessed April 19, 2019 http://publiclibrariesonline.org/2017/01/feature-public-libraries-in-the-age-of-fake-news/.

Barbara Alvarez. “Public Libraries in the Age of Fake News.” Accessed April 19, 2019 http://publiclibrariesonline.org/2017/01/feature-public-libraries-in-the-age-of-fake-news/.

European Commission. “Background Note for the Attention of The Cabinet of The President of The European Commission Jean-Claude Juncker Fake news.” Accessed April 19, 2019 https://www.asktheeu.org/en/request/3724/response/13625/attach/5/Annex%201.pdf.

Lazer, D. M. J., Buam, M. A., Benkler, Y., Berinsky, A. J., Greenhill, K. M., Menczer, F., ... Zittrian, J. L. “The Science of Fake News.” Science Magazine, no.359 (2017): 1094-1096

Nir Kshetri. “The Economics of Fake News.” Magazines IT Professional, no.19 (2017): 8-12.

Nutnon. “รู้จักกับ Fake News ทั้ง 7 รูปแบบ ที่เราเจอกันทุกวันบน facebook,twitter.” สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563. https://www.rainmaker.in.th/7-type-of-fake-news/.

Office of communication. “Online protection: a survey of consumer, industry and regulatory mechanisms and systems.”Stakeholders. Accessed April 19, 2019 http//stakeholders.ofcom.org.uk/binaries/research/telecoms-research/report.pdf.

Praornpit Katchwattana. “อยู่รอดปลอดภัยจากการเสพ & แชร์ ‘ข่าวปลอม (Fake News)’ บนโลกออนไลน์ ด้วยเคล็ดลับรู้ก่อนแชร์.”สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562. https://www.salika.co/2019/01/20/howto-be-safe-from-fake-news/.

Thaireform. “ส่องกฎหมายจัดการข่าวปลอม Fake News ในหลายประเทศ.” สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563. https://www.isranews.org/thaireform/thaireform-documentary/75334-fake-news75334.html.

Thanyawat lppoodom. “สู้ข่าวปลอมแบบประชาธิปไตย.” สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563. https://thematter.co/social/how-finland-fight-disinformation/82853.

The European Association for Viewers Interests. “Infographic : Beyond Fake News – 10 Types of Misleading News.” Accessed April 19, 2019 https://eavi.eu/beyond- fake-news-10-types-misleading-info/.

Workpoint News. “ข่าวปลอมและข่าวลือระบาดในโลกออนไลน์ไทย ช่วงใกล้เลือกตั้ง.” สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562. https://workpointnews.com/2019/02/15/ข่าวปลอมและข่าวลือระบา/.

Workpoint News. “อนาคตใหม่ชี้มีการทำข่าวปลอมหวังโจมตีธนาธร.” สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562. https://workpointnews.com/2019/03/05/อนาคตใหม่-ชี้มีการทำข่/.

Workpont News. “เปิดที่มาที่ไปเฟคนิวส์ วัยรุ่นจากมาเซโดเนียผู้ทำให้โลกต้องหันมาไล่จับข่าวปลอม.” สืบค้นมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562. https://workpointnews.com/ 2019/09/01/fake-news/.

ข่าวสด. “เว็บไซต์ปลอม อ้างข่าวสด นำภาพหนุุ่มประกอบข่าวทำเสื่อมเสีย.” สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563. https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_378761

ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ. “สิงคโปร์ผ่านร่างกฎหมายต่อต้านข่าวปลอม ยืนยันไม่กระทบเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน.” สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562. https://thestandard.com/singapore-passes-controversial-fake-news-law/.

ณัฐวรา เทพเกษร. “Dose China’s Restricted Internet has an impact on Businesses?.” สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563. https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6301.

นันทิกา หนูสม. “ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560).

ปณิดดา เกษมจันทโชติ. “ปลุกสังคมสู้วิกฤติ Fake news.” สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2662. https://www.77kaoded.com/content/author/panidda.

พิกุล จันทวิชญสุทธิ. “การตรวจสอบข่าวปลอม.” สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563. https://www.isranews.org/isranews-article/75870-fakenews.html.

พิชชาภา วงศ์ผาสุกสถาพร. “ถอดบทเรียนต้านข่าวลวง Fake News ของไต้หวัน.” สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2563. https://www.isranews.org/isranews/77599-fake-news-77599.html?fbclid=IwAR29nJYftMq98NKTtwSsnlY1YeH9C0KxZ3LALIBKexFXIQEnn2LaWDKRe8g.

พิรงรอง รามสูต. การกำกับดูแลเนื้อหาอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. “ตามรอย ‘ข่าวปลอม’ เส้นทางธุรกิจไม่สร้างสรรค์.” สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562. https://themomentum.co/fake-news-as-business/.

สถาบันวิจัยลพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎสมเด็จเจ้าพระยา. “คนกทมคิดว่าข่าวปลอมจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดและนำไปสู่ความขัดแย้ง.” สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563. http://research.bsru.ac.th/2020/คน-กทม-คิดว่าข่าวปลอมจะท//.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. “กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดตัวศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม.” สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563. https://www.thaigov.go.th/news/ contents/details/24306.

สุปัญญา อภิวงศ์โสภณ. “การตรวจสอบข่าวปลอมด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง” (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561).

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์. “Fake News ข่าวปลอมปัญหาใหญ่ของโลกอินเทอร์เน็ต.” สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562. http://www.okmd.tv/blogs/all-things-digital/fake-news.