เหลียวหลัง แลหน้า นิติปรัชญานิพนธ์ของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการศึกษาถึงความเคลื่อนไหวของงานเขียนนิติปรัชญาในสังคมไทย นับตั้งแต่ได้มีวิชาปรัชญาถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 4 ทศวรรษก่อน ซึ่งสามารถจัดแบ่งความเคลื่อนไหวของงานเขียนนิติปรัชญาได้เป็น 2 ช่วงสำคัญ คือ หนึ่ง ระยะก่อตัวของความรู้ด้านนิติปรัชญา สอง ระยะของการขยายตัวของความรู้
ในระยะแรก งานเขียนทางด้านนิติปรัชญาจะสัมพันธ์กับการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาอย่างมาก และมีการให้ความสำคัญกับแนวความคิดหลัก 3 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ แนวความคิดสำนักกฎหมายบ้านเมือง สำนักกฎหมายธรรมชาติและสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ ในระยะต่อมา งานเขียนด้านนิติปรัชญาได้ถูกผลิตขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาเพียงอย่างเดียว รวมทั้งความรู้ทางด้านนิติปรัชญาได้ขยายออกไปสู่ขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่สัมพันธ์กับแนวคิดทางสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์
ความรู้ทางด้านนิติปรัชญาในสังคมไทยต้องเผชิญกับข้อจำกัดอันเนื่องมาจากระบบการศึกษาที่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของวิชาชีพ, การยกย่องนักกฎหมายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาก็ได้ส่งผลท้าทายต่อระบบความรู้ทางนิติปรัชญาในสังคมไทยอย่างสำคัญ
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
Gary Minda. Postmodern Legal Movements: Law and Jurisprudence at Century’s End. New York and London: New York University Press, 1995.
จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2532.
จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญาแนววิพากษ์. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2550.
ดิเรก ควรสมาคม. นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2557.
ปรีดี เกษมทรัพย์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539.
ปรีดี เกษมทรัพย์. เอกสารประกอบการศึกษาวิชานิติปรัชญาชั้นปริญญาตรี ภาคหนึ่ง: บทนำทางทฤษฎี. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการบริการทางวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526.
ปรีดี เกษมทรัพย์. เอกสารประกอบการศึกษาวิชานิติปรัชญาชั้นปริญญาตรี ภาคสอง: บทนำทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการบริการทางวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526.
พนัส ทัศนียานนท์. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: ป. สัมพันธ์พาณิชย์, 2543.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม, 2539.
พิธินัย ไชยแสงสุขกุล. นิติปรัชญา ภาค 1: เล่มที่ 1 ว่าด้วยทฤษฎีพื้นฐานทางกฎหมาย. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพานิช, 2539.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: อ่านกฎหมาย, 2561.
วิระดา สมสวัสดิ์. กฎหมายครอบครัว. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2540.
วิระดา สมสวัสดิ์. นิติศาสตร์แนวสตรีนิยม. พิมพ์ครั้งแรก. เชียงใหม่: วนิดาเพรส, 2549.
วิษณุ เครืองาม. ความรู้เบื้องต้นทางปรัชญา เอกสารประกอบการศึกษาสำหรับนิสิตนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
แวคส์, เรย์มอนด์. ปรัชญากฎหมาย: ความรู้ฉบับพกพา. แปลโดย พิเศษ สอาดเย็น และธงทอง จันทรางศุ. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. การวิจัยกฎหมายทางเลือก: แนวคิดและพรมแดนความรู้. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2558.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. นิติปรัชญาทางเลือก. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2546.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. เมื่อตุลาการเป็นในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: bookscape, 2562.
สมยศ เชื้อไทย. นิติปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2548.