วิกฤตกฎหมายกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในระดับปฏิบัติการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้นำเสนอปัญหาการบังคับใช้กฎหมายบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในมุมมองของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการที่ทำให้กฎหมายไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาดังกล่าวประกอบไปด้วยปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ปัญหาความยุ่งยากในการกำหนดค่าธรรมเนียมจัดการขยะมูลฝอยชุมชน และปัญหาการกำหนดหน้าที่ในการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน โดยผู้เขียนเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ได้แก่ ประการแรก ตรากฎหมายบริหารจัดการขยะขึ้นใหม่ให้เป็นฉบับเดียวกัน และยกเลิกบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการขยะในกฎหมายที่ซ้ำซ้อนกัน ประการที่สอง กำหนดให้มีองค์กรบริหารจัดการขยะระดับชาติทำหน้าที่กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือ คำแนะนำและกำกับดูแลการจัดการขยะชุมชนให้เป็นไปตามสุขลักษณะและมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม ประการที่สาม รัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือหรือเงินงบประมาณอุดหนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ใช้ในการจัดการขยะเบื้องต้นได้ และประการสุดท้าย กำหนดให้รัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำจัดขยะโดยจัดสรรงบประมาณอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สามารถก่อตั้งระบบการเก็บ ขนและกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนได้ โดยเฉพาะในเรื่องการแก้ไขปัญหาสถานที่กำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องและก่อให้เกิดปัญหามลพิษโดยเร่งด่วน และกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่และมีความพร้อมทำหน้าที่รับกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถกำจัดขยะได้เอง
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2562. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2563. 99-100. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564, https://www.pcd.go.th/publication/8013/.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมมลพิษ. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, 2559. 21-22. สืบค้นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564. https://www.pcd.go.th/publication/5061/.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ส่วนขยะมูลฝอยชุมชน กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, ประกาศกรมควบคุมมลพิษและประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอย, (กรุงเทพฯ: ส่วนขยะมูลฝอยฯ, ม.ป.ป.), สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564, http://www2.pcd.go.th/Info_serv/File/17-12-61-009.pdf.
กระทรวงมหาดไทย. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0804.5/20214 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง“ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.....” 27 พฤศจิกายน 2561.
กระทรวงมหาดไทย, หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0810.5/ว 0263 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เรื่อง “แนวทางการรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Cluster) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,” 16 มกราคม 2561.
ชมพร รักษาเกียรติศักดิ์. “มาตรการทางกฎหมายในการจัดการมูลฝอย: ศึกษาเปรียบเทียบกับสาธารณรัฐเกาหลี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560, 10-11.
เดือนเด่น นาคสีหราช. “การพัฒนามาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลนาอ้อ จังหวัดเลย.” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 47, ฉ.1 (2561): 149.
ธานิศ เกศวพิทักษ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1-2 (มาตรา 1-156) (เล่ม 1). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: พลสยามพริ๊นติ้ง, 2555. 591-592.
ปเนต มโนมัยวิบูลย์ และพรรณนิภา ดอกไม้งาม. การทบทวนต้นทุนการจัดการขยะและการประเมินตลอดวัฏจักรชีวิตของระบบการจัดการขยะมูลฝอย: หลักการและการดัดแปลงมาใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ, 2561, 58-60.
ปิยชาติ ศิลปสุวรรณ. “ขยะมูลฝอยชุมชน ปัญหาใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญ,” จุลสาร 4. ฉ.7 (2557): 1-21.
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร และวชิรวัชร งามละม่อน. “แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,” วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 5, ฉ.1 (2561): 172-193.
วิขัย โถสุวรรณจินดา. “มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย.” วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 11, ฉ.2 (2558): 76-89.
ศุภกร ฮั่นตระกูล. “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2557). 143-151.
สุจิตรา วาสนาดำรงดี “ความเข้าใจผิด “ค่ากำจัดขยะ” ถึงเวลาที่ประชาชนต้องจ่าย?.” MGRONLINE, 15 พฤษภาคม 2558. สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564, https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9580000055311.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ. การจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2562, 52.
OECD. Extended Producer Responsibility: Updated Guidance for Efficient Waste Management. Paris: OECD Publishing, 2016. https://doi.org/10.1787/9789264256385-en อ้างถึงใน สุจิตรา วาสนาดำรงดี. “หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility)” เครื่องมือในการจัดการขยะและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน.” วารสารสิ่งแวดล้อม 24. ฉ.2 (2563): 2-3.