การคุ้มครองสิทธิของแรงงานประมงในประเทศไทยภายใต้อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง 2007 (ฉบับที่ 188)

Main Article Content

โศภิต ชีวะพานิชย์

บทคัดย่อ

การให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง (อนุสัญญาฉบับที่ 188) ในปี พ.ศ.2563 ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในการออกกฎหมายและสร้างกลไกเพื่อคุ้มครองแรงงานประมง งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งสำรวจผลของการดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีในทางระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาฉบับที่ 188 จากมุมมองในด้านสิทธิแรงงาน โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม


ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามข้อกำหนดในอนุสัญญาฉบับที่ 188 แต่ยังคงพบปัญหาในเรื่องการขาดตัวแทนอย่างแท้จริงของลูกจ้างในกระบวนการไตรภาคี  ข้อกฎหมายไทยหรือแนวปฏิบัติบางเรื่องที่ยังไม่สอดคล้องกับ การคุ้มครองแรงงานในอนุสัญญาฉบับที่ 188 ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย และปัญหาจากการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 (Covid-19) ที่สร้างภาระต่อทั้งนายจ้างและลูกจ้าง


ข้อเสนอแนะของงานวิจัย แบ่งเป็นสี่กลุ่ม ได้แก่ หนึ่ง เสนอให้แก้ไขกฎหมายที่ขัดต่อหลักการเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการรวมตัวต่อรอง สอง เสนอให้ทบทวนกฎหมายที่มีอยู่และทำการศึกษาให้รอบด้านโดยเฉพาะข้อกฎหมายในประเด็นการใช้แรงงานเด็กในกิจการประมง ข้อกำหนดในสัญญาจ้างงาน และความคุ้มครองในระบบประกันสุขภาพสำหรับแรงงานประมง พร้อมกับการปรับปรุงแนวปฏิบัติให้ไปสู่แนวทางการคุ้มครองสิทธิแรงงานโดยเฉพาะแนวปฏิบัติในเรื่องแนวทางการฝากเอกสาร กระบวนการและค่าใช้จ่ายในการจัดหางาน  การจ่ายค่าจ้างและหนี้สินระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และการป้องกันความปลอดภัยในการทำงาน สาม เสนอให้ปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมายรวมถึงการกระบวนการในการยื่นข้อเรียกร้องสำหรับแรงงานประมง และสี่ เสนอให้ลดภาระของนายจ้างและลูกจ้างในการใช้มาตรการป้องกันโรคโควิด-19   

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

International Labour Organization. Fishers First: Good Practices to End Labour Exploitation at Sea. Geneve: ILO, 2016. Accessed on October 2, 2022. https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---ed_norm/---declaration/documents/publication/wcms_515365.pdf.

The Thai CSO Coalition for Ethical and Sustainable Seafood. Falling through the Net: A survery of basic labour rights among migrant working in Thailand’s fishing sector. Thailand: Penthai Publishing, 2021. Accessed on October 2, 2022. http://hrdfoundation.org/wp-content/uploads/2020/07/7efcb5_627b85f92d9a4cb3a962db669b06351c.pdf.

International Labour Organization. Endline research: finding on fishers and seafood workers in Thailand. Thailand: ILO, 2020. Accessed on October 2, 2022. https://shiptoshorerights.org/wp-content/uploads/Endline-Research-Findings-on-Fishers-and-Seafood-Workers-in-Thailand_EN.pdf.

The Civil Society Organization Coalition for Ethical and Sustainable Seafood. Precarity and the Pandemic: A Survey of Wage Issues and COVID-19 Impacts Among Migrant Seafood Workers in Thailand. UK: Oxfam GB, 2021. Accessed on October 2, 2022. https://oxfamilibrary.openrepository.com/bitstream/handle/10546/621193/bp-precarity-pandemic-thailand-seafood-workers-300721-en.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

Rapid Asia. Evaluation of the Electronic Payment system in the Thai Fishing Industry. Accessed on October 2, 2022. https://humanityunited.org/wp-content/uploads/2019/11/FINAL-E-payment-study_2019.11.08.pdf.

สรไกร ศรศร, ศิริวรรณ ว่างเกียรติไพศาล และ มนันญา เกตุสกุล, คู่มือเสริมสร้างศักยภาพองค์กรภาคเอกชนเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์รูปแบบบังคับใช้แรงงาน. สมุทรปราการ: หจก.ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์ การพิมพ์, 2561. สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 ตุลาคม 2565, https://drive.google.com/file/d/1nG2Ps1nC74gWk3bNQJu1S2TJjEBTEwpR/view?fbclid=IwAR1o4-ZfW3AbiBRr29_7qQ6YV-IVDcK24zWSwaOytOn1SOLS0RhVq-IAhb0.

The U.S. State Department, Trafficking in Persons Report. Accessed on October 2, 2022. https://www.state.gov/wp-content/uploads/2021/09/TIPR-GPA-upload-07222021.pdf.