มรดกทางประวัติศาสตร์และการบังเกิด “ตุลาการภิวัตน์” ในรัฐไทย Historical Legacy and the Construction of Judicial Activism in Thai State
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” เกิดขึ้นได้เนื่องจากวัฒนธรรมทางความคิด ที่สั่งสมมายาวนาน ภายใต้ระบบการปกครองแบบเผด็จการที่ชนชั้นกลาง ขาดอำนาจต่อรองและไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจจึงต้องการให้ “คนดี” มีอำนาจ และใช้ “คุณธรรม” ในการควบคุมผู้ปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายาม ถวายพระราชอำนาจให้สถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อ “พึ่งพระบารมี” ของพระองค์ ในการแก้ไขปัญหาเมื่อมีการใช้อำนาจในทางมิชอบ ทำให้ชนชั้นกลางต้องการ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”1
วัฒนธรรมความคิดทางการเมืองดังกล่าวข้างต้นสัมพันธ์กับการให้ ความหมายว่า “ราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย” “นักการเมือง เป็นคนเลวและไร้สมรรถภาพ” และ “พรรคการเมืองไทยยังอ่อนแอ” เมื่อเกิด ปัญหาผู้นำประเทศไม่เป็น “คนดี” จึงไม่อาจพึ่งพาระบบรัฐสภาได้ จำเป็นต้อง “พึ่งพระบารมี” ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระราชกรณียกิจต่างๆ และอิทธิพลของอุดมการณ์กษัตริย์นิยมแบบ “พ่อแห่งชาติ” ทำให้ชนชั้นกลางเชื่อมั่นว่าพระองค์ ทรงมีพระอัจฉริยภาพและความเมตตากรุณาอย่างสูงต่อราษฎร ทั้งนี้ การสร้าง และการผลิตซ้ำความหมายของ “การปกครองแบบไทย” และ “ประชาธิปไตยแบบ ไทย” ที่พัฒนามาสู่ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ทำให้บทบาททางการเมืองของพระมหากษัตริย์มีความชอบธรรม เมื่อถึงกลาง ทศวรรษ 2530 คนหลายกลุ่มแม้แต่นักวิชาการที่มีความคิดเสรีนิยมต่างก็ให้ ความสำคัญแก่พระมหากษัตริย์ในการแก้ไขวิกฤตทางการเมือง ซึ่งมีส่วนเสริมสร้าง “พระราชอำนาจนำ” ให้สูงส่งยิ่งขึ้น และทำให้คนทั้งหลายหวังพึ่ง “พระบารมี” มากยิ่งขึ้น
เมื่อถึงปลายทศวรรษ 2540 มรดกวัฒนธรรมทางความคิดและการผลิตซ้ำความหมายหลายประการ รวมทั้งการสร้างความกลัวต่อ “ระบอบทักษิณ” โดยการ สร้างความหมายว่าเป็น “ทุนสามานย์” หรือ “นักการเมืองเลว” ที่จะทำลาย ความมั่นคงของ “ชาติไทย” และ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข” ได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเกิด “ตุลาการภิวัตน์” เพื่อให้ ตุลาการใช้อำนาจทางการเมืองแทนพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ชนชั้นกลาง ระดับล่างรับรู้กระบวนการดังกล่าวนี้ว่าเป็นการรักษาอำนาจของ “อำมาตย์” และ “สองมาตรฐาน” จึงเป็นการปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมทางความคิดและ ความหมายสองแบบที่เป็นปัจจัยสำคัญของความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมือง สืบมา
Development of “judicial activism” gradually constructs from ideological culture in the extensive time. In the dictatorship era in which the middle class has less bargaining and examining power, so that they want to have “good people” hold the power and employ the “virtue” controlling the government. At the same time, they attempt to bestow such power to the monarch “asking for the monarchical prestige” to resolve the crisis when abuse of power arises. For this reason, the middle class requires “Constitutional Monarchical Democracy.” 2
Such political ideological culture relates to the idea of “the people are not ready for democracy”; “the politicians are bad and incompetent”; and “political parties are still weak.” When the government leader is not a “good people” therefore the Thais cannot rely on the Parliamentary System. Hence, they have to “asking for monarchical prestige” from the King who has the royal activities and influential ideology of royalism as “National Father” in which they have faith. Accordingly, construction and reproduction of “Thai governance” and “Thai democracy” have developed to “Constitutional Monarchical Democracy” and lead to legitimize political role of the monarch. In the mid of 2530s, many groups, include liberal scholars, prioritized the monarchy’s role to cure the political crisis. This type movement reassures “the prerogative” and increasingly inspire many people to rely on “monarchical prestige.”
In the late 2540s, this traditional culture of such idea and reproduction of several significance -- include the fear of "Thaksinomics" signifying various words, namely “evil monetary” or “bad politicians” which will destroy “Thai Nation” and “Constitutional Monarchical Democracy” – is an important factor to shape “judicial activism” and to pursue the judiciary perform the role for the monarch in politics. However, the middle class and grassroots perceive this formation as the power preservation of the “aristocrats” and “double standard.” Hence, there is a clash between ideological culture and parallel thinking as critical features of the political conflicts since.
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
กฤษณ์พชร โสมณวัตร. (2557). “อำนาจแห่ง ‘อัตลักษณ์’ ตุลาการ”. นิติสังคมศาสตร์ 7, 1 (มกราคม-มิถุนายน).
กระมล ทองธรรมชาติ. (2515). “อุดมการกับสังคมไทยในปัจจุบัน,” ใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (รวบรวม), อุดมการกับสังคมไทย, นครหลวง: สมาคม สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
กิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์. (2557). “ทัศนะของสื่อหนังสือพิมพ์และปัญญาชน สาธารณะที่มีต่อสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ระหว่าง พ.ศ.2535-2540”. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กุหลาบ สายประดิษฐ์. เสถียรภาพทางการเมือง” ใน สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ). (2548). มนุษย์ไม่ได้กินแกลบ.กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 100 ปี ศรีบูรพา.
เกษียร เตชะพีระ. (2551). “รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 กับการเมืองไทย”. รัฐศาสตร์สาร 29,3 (กันยายน-ธันวาคม): หน้า 1-83.
…………………. (2554). ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”. ฟ้าเดียวกัน 9, 1 (มกราคม-มีนาคม): หน้า 97.
ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. (2550). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนา พระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2549). “กำเนิดการเมืองและความยุติธรรม” ใน ไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์.กรุงเทพฯ: มติชน.
ธงทอง จันทรางศุ. (2537). พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางกฎหมาย รัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: บริษัท เอสซี พริ้นแอนด์แพค จำกัด.
ธนาพล อิ๋วสกุล. (2549) “เสาหลักทางจริยธรรมชื่อเปรม” ฟ้าเดียวกัน 4, 1 (มกราคม-มีนาคม 2549).
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2546). “วาทกรรมการเมืองว่าด้วยประชาธิปไตยของไทย” ใน ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
………………. (2549). พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย : ๖๐ ปีสิริราชสมบัติกับ การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2535). “มโนธรรมของชนชั้นนำทางอำนาจ” ผู้จัดการรายวัน (27 พฤศจิกายน): หน้า 9.
……………….. (2538). “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย” ใน ชาติไทย เมืองไทย แบบ เรียน และอนุสาวรีย์ . .กรุงเทพฯ: มติชน.
……………….. (2551). ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วัฒนธรรมการเมืองไทย” ในการประชุม วิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 9 ประจำปี 2550 หัวข้อ “วัฒนธรรม การเมือง จริยธรรม และการปกครอง” ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ใน . ศิลปวัฒนธรรม 29 , 3 มกราคม . หน้า 81-100
……………….. (2554). “วัฒนธรรมทางการเมืองไทย” วารสารสถาบันวัฒนธรรมและ ศิลปะมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ 12, 2 (24)มกราคม - มิถุนายน): หน้า 59.
……………….. (2555). “ศาลเจ้า” ใน พิพากษ์ศาล , กรุงเทพฯ: มติชน. ประชาธิปไตย แบบไทยและข้อคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ. (2508). พระนคร: โชคชัย เทเวศร์.
ประมวล รุจนเสรี. (2548). พระราชอำนาจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
ประมวลสุนทรพจน์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2502-2504. (2507). พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2516). พระบรมราชาธิบายว่าด้วย ความสามัคคี” ใน ประวัติศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แพทย์ พิจิตร (นามแฝง). (2559). “รัฐบาลทักษิณเข้าข่ายระบอบอำนาจนิยม หรือไม่?” ใน มติชนสุดสัปดาห์ 36, 1857 (18-24 มีนาคม): หน้า 55.
โยชิฟูมิ ทามาดา. “อิทธิพล” และ “อำนาจ”: การเมืองไทยด้านที่ไม่เป็นทางการ” ใน อมรา พงศาพิชญ์และปรีชา คุวินทร์พันธุ์ (บรรณาธิการ). (2543). ระบบอุปถัมภ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 66 วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2492.
สละ ลิขิตกุล. (2546). ในหลวงกับคึกฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สรรพศาสตร์.
สมบัติ จันทรวงศ์. (2533). ภาษาทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2558). ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475-2550. เชียงใหม่: คีแอนท์ พริ้นติ้ง.
สายชล สัตยานุรักษ์. (2545). “มติมหาชน: ฐานทางความคิดของระบอบ ประชาธิปไตยไทย ยุคเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” ใน สิริลักษณ์ สัมปัชชลิต, ศิริพร ยอดกมลศาสตร์ (บรรณาธิการ). คือความภูมิใจ รวมบทความเพื่อ เป็นที่ระลึกในโอกาสศาสตราจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภาเกษียณอายุ ราชการ. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.
………………. (2550). คึกฤทธิ์กับประดิษฐกรรม “ความเป็นไทย” เล่ม 2 , กรุงเทพฯ: มติชน
………………..(2558). “อุดมการณ์ชาตินิยมกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนชั้น กลางไทย” ใน ประวัติศาสตร์รัฐไทยและสังคมไทย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
……………….. (2558). 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 1 และเล่ม 2 . กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุคส์.
……………….. (2559). สรุปร่างรายงานการวิจัยโครงการ “นักวิชาการไทยกับการต่อสู้ ช่วงชิงความหมาย “ประชาธิปไตย” ในภาวะวิกฤตทางการเมือง (พ.ศ. 2548-2557)” ได้รับทุนจากสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (กำลังดำเนินการวิจัยอยู่ในปัจจุบัน).
สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์. (2558). “ลูกจีนรักชาติ”: สำนึกประวัติศาสตร์และนิยาม ประชาธิปไตย” วารสารมนุษยศาสตร์ 16, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): หน้า 112-156.
อมร จันทรสมบูรณ์. (2548). การอภิปรายเรื่อง “พระราชอำนาจกับการปฏิรูป การเมือง” ครั้งที่ 2 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548. ใน มติชนรายวัน 24 พฤศจิกายน. หน้า 2.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2557). ประชาธิปไตย คนไทยไม่เท่ากัน. กรุงเทพฯ: มติชน.
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. เปิดการเมืองให้กว้าง. (6 พฤศจิกายน 2548). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9480 000153435
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. การงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา. (26 กุมภาพันธ์ 2549). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/ Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000026368
ชัยอนันต์ สมุทวณิช.ราชประชาสมาสัย. (19 มีนาคม 2549). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9490000037259
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. อันตรายแปดอย่างของทักษิณ (24 มีนาคม 2549). สืบค้น เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9490000040162
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. บทบาทของสื่อในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง. (28 พฤษภาคม 2549). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www. manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000069878
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. จะเกิดอะไรขึ้นในเดือนกรกฎาคม. (4 มิถุนายน 2549). สืบค้น เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9490000073233
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. การเมืองไทยหลังทักษิณ (ออกไปแล้ว). (23 กรกฎาคม 2549). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager. co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000094208
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ช่วยกันป้องกันไม่ให้คนชั่วและบ้ามีอำนาจ. (10 กันยายน 2549). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager. co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000114555
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ปฏิรูปการเมืองอีกครั้ง. (17 กันยายน 2549). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9490000117300
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. การเมืองต้องช่วยแก้ปัญหาสังคม. (14 มกราคม 2550). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/ Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000004736
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ระบอบพรรคเดียวกับผู้นำมวลชน. (20 เมษายน 2551). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/ Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000045967
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ความชอบธรรมที่มีเงื่อนไข. (20 กรกฎาคม 2551). สืบค้น เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9510000085133
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ยุติความรุนแรง. (10 พฤษภาคม 2552). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9520000051996
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. รัฐไทยใหม่. (16 พฤษภาคม 2553). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews. aspx?NewsID=9530000067459
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ต้นทุนของประชาธิปไตย. (25 เมษายน 2553). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9530000056645
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ทำให้รัฐเป็นกลาง. (31 ตุลาคม 2553). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9530000153351
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. อำนาจที่สี่. (22 กรกฎาคม 2555). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9550000089909
ธีรยุทธ บุญมี' อัดทักษิณ' นำการเมืองแบบบ้าอำนาจ. (2 สิงหาคม 2549). สืบค้น เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.parliament.go.th/news/ news_detail.php?prid=22739
ธีรยุทธ บุญมี. บทเสนอแนะ “การฝ่าวิกฤติการเมืองไทย ที่ตระหนักถึงรากเหง้า แท้จริงของปัญหา”. (28 พฤศจิกายน 2551). สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.prachatai.com/journal/2008/11/19132
ธีรยุทธ บุญมี. สุดท้ายของระบอบทักษิณสร้างรากฐานใหม่ให้ประเทศไทย? (15 มกราคม 2557). สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http:// thaipublica.org/wp-content/uploads/2014/01/
ปัทมา สูบกำปัง, “สถาบันตุลาการไทย” ค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สถาบันตุลาการไทย
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. Prof. Sombat Thamrongthanyawong, Ph.D. (6 พฤษภาคม 2557). สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https://www. facebook.com/Prof.SombatThamrongthanyawong/ posts/755740181133642