แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก

Authors

  • มยุรี วิจิตรพงษา นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุวพัชร์ ช่างพินิจ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
  • พวงทอง ไสยวรรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

Keywords:

ประกันคุณภาพการจัดการศึกษา, โรงเรียนเรียนร่วม, educational quality assurance, mainstreaming schools

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร ครูสอนเสริม ประธานกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจำนวน 168 คนและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนแกนนำ จัดการเรียนร่วมที่มีการปฏิบัติในระดับน้อยในได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมของบุคคลากรด้านแพทย์ และการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมหรือฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาการด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (2) การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามขั้นตอน และการกำหนดบทบาทหน้าที่ให้แก่คณะกรรมการจัดการเรียนร่วมและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานโดยใช้โครงสร้างซีท(SEAT)และ (3)การนิเทศติดตาม การจัดการเรียนการสอนและการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียน

2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ได้แก่ (1) การจัดการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจสร้างความตระหนักแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน การบริหารงานโดยใช้โครงสร้างซีท(SEAT)(2) การประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (3) การมีแผนปฏิบัติการเพื่อใช้ในการวางแผนจัดระบบพัฒนาการดำเนินงาน และ(4)การปรับรูปแบบการนิเทศให้หลากหลายโดยที่ผู้นิเทศมีความรู้ด้านการจัดการศึกษาพิเศษ

 

Guidelines for the development of educational quality assurance activities in leading mainstreaming schools under Phitsanulok primary educational service area

This research aims to study and to propose guidelines for the development of educational quality assurance activities in leading mainstreaming schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area. A total of 168 school administrators, resource teachers and school committee chairman were used as a sample of this study. 7 experts in special education were also interviewed. Research instruments were a questionnaire and an interview protocol. Data were analyzed using means, standard deviations, and content analysis. The results showed that,

1. Three areas of educational quality assurance activities in the leading mainstreaming schools were found to be least practiced, including (1) involvement of medical staff in preparatory and rehabilitation activities for the development of students desirable characteristics; (2) enhancement of knowledge and understanding of the SEAT model on roles and responsibilities of those involved in implementation process; and (3) supervision and monitoring of teaching and learning in the schools.

2. Guidelines for the development of educational quality assurance activities included (1) providing a workshop to enhance awareness and understanding among all involved parties and to prepare for them on teaching and learning, and administration using SEAT model; (2) enhancement of collaboration among all involved agencies; (3) drawing up action plan for developing the implementation system; and (4) employment of various forms of supervision by those who are acknowledge for special education.

Downloads

How to Cite

วิจิตรพงษา ม., ช่างพินิจ ส., & ไสยวรรณ์ พ. (2016). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 7(1), 49–61. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55497