แนวทางการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนคู่ขนานบุคคลออทิสติก ในเขตภาคเหนือตอนล่างกลุ่ม 5

Authors

  • วัชรพงศ์ ปรากฎ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุวพัชร์ ช่างพินิจ อาจารย์ที่ปรึกษา
  • พวงทอง ไสยวรรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษา

Keywords:

แนวทางการจัดการเรียนการสอน, ห้องเรียนพิเศษ, นักเรียนออทิสติก, Guidelines of Teaching and Learning, Special Classrooms, Students with Autism

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนคู่ขนานบุคคลออทิสติก ในเขตภาคเหนือตอนล่างกลุ่ม 5 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ปีการศึกษา 2554 จำนวน 16 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 169 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ชุด สำหรับผู้ให้บริการ และ สำหรับผู้รับบริการ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

ความคิดเห็นของผู้ให้บริการ กับ ผู้รับบริการ ไม่สอดคล้องกัน ความคิดเห็นผู้ให้บริการ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ทั้ง 12 ด้าน ความคิดเห็นผู้รับบริการ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์ 6 ด้าน ไม่ผ่านเกณฑ์ 1 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3 ข้อ ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ 1) การประสานความร่วมมือกับบุคลากรภายในโรงเรียน 2) มีการจัดโครงการทัศนศึกษาตามสถานที่ต่างๆให้กับนักเรียนห้องเรียนคู่ขนาน และ 3) มีการนำเสนอข้อมูลของนักเรียนให้กับผู้ปกครอง

ผลการศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนคู่ขนาน พบว่า 1) การประสานความร่วมมือกับบุคลากรภายในโรงเรียนโดยประกาศเป็นนโยบายของโรงเรียน 2) การจัดทำแผนงาน/ปฏิทินการดำเนินโครงการทัศนศึกษาดูงานโดยมีคณะกรรมการเพื่อให้โครงการเกิดประสิทธิภาพตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับนักเรียน และ 3) การนำเสนอข้อมูลของนักเรียนให้กับผู้ปกครองที่เน้นการจัดทำรายงานผลการเรียน หรือ ผลพัฒนาศักยภาพของนักเรียน


Proposed Guidelines of Teaching and Learning in Special Classrooms for Students with Autism in Regular Schools  in Lower Northern Provinces, Group 5

This research aimed to study conditions of and to propose guidelines of teaching and learning in special classrooms for students with autism in Lower Northern Provinces, Group 5. 169 participants were research sample; service providers including school administrators, teachers in special classrooms for students with autism, and clients including parents or caregivers in 16 demonstrative mainstream schools in Lower Northern Province Group 5 the academic year 2011. Two sets of research instrument were employed including a 5-point-rating-scale questionnaire for service providers and a structured interview protocol for clients. The data were analyzed using mean, standard deviation, and content analysis.

The results were: 

Service providers’ and clients’ opinions on Teaching and learning conditions in special classrooms for students with autism in Lower Northern Province Group 5, were not consistent. While the service providers considered the conditions at a high level with all 12 aspects that meet criteria, the clients considered the conditions at a moderate level with 5 aspects that meet criteria and 1 aspect that did not meet criteria. The lowest mean score found on three items were 1) cooperation among school staff members, 2) organizing study trips for students in special classrooms, 3) informing parents or caregivers with students’ progress.

Proposed guidelines for teaching and learning in special classroom for students with autism in Lower Northern Provinces Group 5 were 1) Incorporate school staff members in the process of writing school policy documents. 2) School committee prepare for efficient study trip that meet the students’ needs. 3) Records on students’ academic achievement and personal development should be presented to parents and caregivers. 

Downloads

How to Cite

ปรากฎ ว., ช่างพินิจ ส., & ไสยวรรณ์ พ. (2016). แนวทางการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนคู่ขนานบุคคลออทิสติก ในเขตภาคเหนือตอนล่างกลุ่ม 5. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 7(1), 62–74. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55498