ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในทัศนะของ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Keywords:
ภาพลักษณ์, มหาวิทยาลัย, Image, Pibulsongkram Rajaphat UniversityAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในทัศนะของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทางการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ บุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ และการจัดการ และเพื่อเปรียบเทียบทัศนะของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ที่มีต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ประเภทสายงาน และรายได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 260 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way anova) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ตามวิธีของ Scheffe’
ผลการวิจัย พบว่า
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในทัศนะของบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อยู่ในระดับมากทุกด้าน
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในทัศนะของบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยที่มีเพศต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านบุคลากร งบประมาณ และการจัดการส่วนด้านอาคารสถานที่ ไม่แตกต่างทางสถิติ
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในทัศนะของบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ไม่แตกต่างทางสถิติทุกด้าน ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในทัศนะของบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัย ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านงบประมาณ ส่วนด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ และด้านการจัดการ ไม่แตกต่างทางสถิติ
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในทัศนะของบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านอาคารสถานที่ส่วนด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านการจัดการ ไม่แตกต่างทางสถิติ
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในทัศนะของบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยที่มีรายได้ต่างกัน ไม่แตกต่างกันทางสถิติทุกด้าน
บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทาง ในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีภาพลักษณ์ดี มีศักยภาพในการดำเนินงาน สามารถพัฒนาไปอีกหลายด้าน และเป็นที่ยอมรับจากชุมชนและสังคมมากขึ้น รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง น่าอยู่ และน่าศึกษาเล่าเรียน ทั้งนี้ ควรมีการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนและครุภัณฑ์ที่ทันสมัย ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้
Image of Pibulsongkram Rajabhat University in the Perspectives of Personnel within Pibulsongkram Rajabhat University
This research aimed to study the image of Pibulsongkram Rajabhat University as perceived by personnel at the university in 4 aspects: personnel, budget, building and management, and to compare the personnel’s perspectives within the university in terms of the image of the university by genders, level of education, working experience, and incomes. The samples were 260 personnel in the academic year 2011 by using stratified random sampling. The research instruments were questionnaire which had reliability value 0.97. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One way ANOVA and mean comparison by Scheffe.
The findings were as follows:
The image of Pibulsongkram Rajabhat University as perceived by personnel at the university was very good in all aspects.
The image of Pibulsongkram Rajabhat University as perceived by personnel at the university in terms of genders, it was statically significantly different at .05 in the aspects of budget and management, however, it was not statistically different in the aspect of building.
The image of Pibulsongkram Rajabhat University as perceived by personnel at the university in terms of level of education, it was not significantly different in all aspects.
The image of Pibulsongkram Rajabhat University as perceived by personnel at the university in terms of working experience, it was statistically significantly different at .05 in the aspect of budget; however, it was not significantly different in statistics in the aspects of personnel, building and management.
The image of PibulsongkramRajabhat University as perceived by personnel at the university both from academic and supportive divisions, it was statistically significantly different at .05 in the aspect of building; however, it was not significantly different in statistics in the aspects of personnel.
The image of Pibulsongkram Rajabhat University as perceived by personnel at the university in terms of income, it was not significantly different in all aspects.
The personnel in the university gave recommendations for the university’s management as follows: most of them agreed that the image of the university is good, the university has the potential in operation, is capable to develop the university more and it is more recognized by community and society. The other recommendation is that the university is continuously developed, lively and a good place for education. However, the university should provide enough instructional materials and modernized equipment for the users.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.