คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและแนวทางการพัฒนา
Keywords:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, บุคลากรสายสนับสนุน, แนวทางการพัฒนา, Quality of Work Life, Service Staff, Development ApproachAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานตามความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีการศึกษา 2555 จำนวน 421 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 201 คน โดยจำแนกตามประเภทบุคลากรสายสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายปิดใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( EMBED Equation.3 ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากคำถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบลงข้อสรุปและพรรณนาความ
ผลการวิจัยโดยสรุป พบว่า
1. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดซึ่งอยู่ในระดับดีเช่นกัน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ที่ดีในองค์การ รองลงมา คือ ด้านความภาคภูมิใจในองค์การ ส่วนด้านที่อยู่ในระดับพอใช้ คือ ด้านคุณภาพชีวิตการทำงานมี 3 ด้าน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมรองลงมา คือ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน และ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ตามลำดับ
2. บุคลากรให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน คือ ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ได้แก่ ควรเพิ่มค่าแรงและปรับฐานเงินเดือนให้เท่าทันกับหน่วยงานอื่น ควรเพิ่มค่าครองชีพและเงินพิเศษในตำแหน่งเฉพาะทางให้เหมาะสมเพียงพอ ยุติธรรม และกระจาย ให้ทั่วถึง ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ได้แก่ ควรมีวิธีการที่หลากหลายในการปรับปรุงแผนให้เหมาะสม และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ได้แก่ ควรมีการกระจายงานให้เหมาะสมกับบุคคล และจัดให้มีโอกาสพักจริงในเวลาทำงาน
QUALITY OF WORK LIFE FOR SERVICE STAFF IN PIBULSONGKRAM RAJABHAT UNIVERSITY AND DEVELOPMENT APPOACH
The purposes of this study were to examine the quality of work life of supporting staff in Pibulsongkram Rajabhat University and to study the possible guidelines on their quality of work life. The population was 421 service staff and 201 staff was selected as samples by stratified random sampling method. The data were collected by using questionnaires, including close-ended and open-ended questions. The data from close-ended questions was analyzed by means, standard deviation, t-test, while the data from open-ended questions were analyzed by content analysis.
The study revealed that 1) on average, supporting staff’s perception towards the conditions of their quality of work life as a whole was at good level, including the organizational relationship and organizational pride, respectively. The finding on perception were also at fair level, including the balance between individual and work life, opportunity to continued growth and employment security, and fair and suitable wages, respectively. 2) The guidelines on improving their quality of work life were suggested as the following; first the university should provide adequate and fair wages and welfare for its staff, such as increasing wages and base salary as high as other universities, increasing cost of living and emoluments, should also be adequate, fair and be dispersed; second there should be various ways on improving progress with work and employment security; finally the university should put the right man on the right job and provide them breaking time for rest during office hours.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.