กระบวนการในการจัดการน้ำของสหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บ้านดอนโพ จำกัด อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
Keywords:
กระบวนการจัดการน้ำ, สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ, สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านดอนโพ, The water management process, water users cooperative, waterAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษากระบวนการในการจัดการน้ำของสหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านดอนโพ จำกัด อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการอำนวยการ และด้านการควบคุม ประชากรที่ศึกษา คือ คณะกรรมการสหกรณ์ ของสหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านดอนโพ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบลงข้อสรุป
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สหกรณ์ผู้ใช้น้ำได้มีการดำเนินงานอย่าง “มีระบบ” ใช้วิธีการบริหารจัดการแบบ “มีส่วนร่วม” และ “จัดคนดำเนินงานที่เหมาะสมกับงาน” และมีการดำเนินงานในด้านต่างๆดังนี้ ด้านการวางแผน สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ ได้ดำเนินการวางแผนล่วงหน้าในเรื่องการส่งน้ำ การระบายน้ำ การบำรุงรักษา และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำทั้งในเรื่องบุคลากร งบประมาณ ระยะเวลา และอุปกรณ์ อย่างต่อเนื่องซึ่งกิจกรรมอื่นๆที่พบได้แก่การมี “พิธีกรรม” ทำบายศรีเซ่นไหว้แม่ย่านางเครื่องสูบน้ำเป็นประจำทุกปี ด้านการจัดองค์กร สหกรณ์ ผู้ใช้น้ำได้ดำเนินการจัดองค์กรสหกรณ์ อันประกอบไปด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน 13 คนซึ่งได้มาจากการเลือกของสมาชิก มีตำแหน่งคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการฝ่ายให้บริการ สูบน้ำซึ่งเรียกว่า “หัวหน้าโซน” และคณะกรรมการฝ่ายให้เงินกู้ ด้านการอำนวยการ สหกรณ์ผู้ใช้น้ำได้ดำเนินการด้านการอำนวยการคือการติดต่อสื่อสารและการวินิจฉัยสั่งการทั้งในเวลาปกติและกรณีเมื่อเกิดปัญหา รูปแบบการสื่อสารส่วนมากเป็นแบบจากล่างขึ้นบนโดยเริ่มจากเกษตรกร กรณีมีปัญหา “หัวหน้าโซน” จะเป็นผู้ประสานงานถ้าเป็นเรื่องเล็กน้อย “หัวหน้าโซน” จะดำเนินการแก้ไขเอง ถ้าเป็นปัญหาใหญ่ จะดำเนินการนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณา ด้านการควบคุม สหกรณ์ผู้ใช้น้ำมีการติดตามผลการทำงานและการใช้จ่ายงบประมาณรวมไปถึงการใช้อุปกรณ์และการแก้ไขปัญหาในการจัดการน้ำตั้งแต่เริ่มต้น โดยคณะกรรมการอำนวยการ ในลักษณะที่ไม่เป็นทางการคือพูดคุยสอบถามและเป็นทางการคือให้มีการรายงานในที่ประชุม คำสำคัญ : กระบวนการจัดการน้ำ, สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ, สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านดอนโพ
The water management process of water users cooperative form water pumping stations of electric bandonpho limited, phichai district, uttaradit province.
The aim of this research was to study the water management process of water users cooperative from water pumping station of Electric Bandonpho Limited, Phichai District, Uttaradit Province in four aspects: planning, organizing, directing and controlling. The population was 13 key informants from the board of the cooperative. The board was interviewed and content analysis was used for conclusion.
The study concluded that the operation of water users had an actual organization system and involved users’ participation as follows:
Planning: Cooperative water users had to plan ahead in terms of water drainage, maintenance, and other activities. The activities related to water management including budget, time, personnel and equipment were deployed continually. The other related activities such as folk rites were held annually.
Organizing: The committee consisted of 13 people derived from the cooperative member selection. They were divided into four groups including directing, public relations, pumping services, and loan.
Directing: The activities of directing were communication and decision making. In the normal case, when a problem occurred a form of communication usually was a bottom-up one. In case of unusual problems, at the beginning, the farmer who was a chief in a zone would make decision to solve the problems. If it were a big problem, the chief would present it to the board.
Controlling: The board director monitored the performance and budget spending by using equipment and solutions in water management from the beginning to the end process. The direction board had formal and informal meetings with the members and wrote meeting reports.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.