ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Authors

  • อุรา วงศ์ประสงค์ชัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการจัดการประยุกต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุวารีย์ วงศ์วัฒนา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
  • ผ่องลักษม์ จิตต์การุญ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

Keywords:

แนวทางการพัฒนา, ปัญหาการบริหารงานพัสดุ, Development Approach, Problems on Material Administration

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุมหาวิทยาลัยนเรศวร 3 ด้าน คือ ด้านการจัดหาพัสดุ ด้านการควบคุมพัสดุ และด้านการจำหน่ายพัสดุ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุในมหาวิทยาลัยนเรศวร ตามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานพัสดุ 3 ด้าน โดยทำการศึกษากับกลุ่มประชากรทั้งหมด คือ ผู้ปฏิบัติงานพัสดุ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 102 คน 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานสนับสนุนการจัดการศึกษา กลุ่มสังคมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบลงข้อสรุป

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัญหาการบริหารงานพัสดุ โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านเช่นกัน คือ 1) ด้านการจัดหาพัสดุ ได้แก่ มีขั้นตอนและกระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้างที่มากเกินไป และมีระบบโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างมากเกินไปทำให้เกิดความสับสนและล่าช้า 2) ด้านการควบคุมพัสดุ ได้แก่ การเคลื่อนย้ายพัสดุโดยไม่แจ้งผู้รับผิดชอบหรือผู้ปฏิบัติงานพัสดุทำให้เกิดการสูญหายของพัสดุ 3) ด้านการจำหน่ายพัสดุ ได้แก่ สถานที่จัดเก็บพัสดุที่เสื่อมสภาพรอจำหน่ายมีไม่เพียงพอ

2. ผู้ปฏิบัติงานพัสดุให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารงาน คือ 1) ด้านการจัดหาพัสดุ ควรลดขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ลดกระบวนการดำเนินงานด้านเอกสาร หน่วยงานควรมีแผนการจัดซื้อจัดจ้างให้ชัดเจน และลดระบบโปรแกรมการทำงานให้น้อยลง รวมถึงควรจัดอบรมงานด้านพัสดุแก่เจ้าหน้าที่พัสดุใหม่ 2) ด้านการควบคุมพัสดุ ควรมีแนวปฏิบัติและมีสมุดเอกสารที่ระบุวัน-เวลาในการเบิก-จ่าย/ยืม-คืนพัสดุให้ชัดเจน และมีระเบียบปฏิบัติให้ผู้ใช้พัสดุแจ้งเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อมีการเคลื่อนย้ายพัสดุ ไม่ควรเปลี่ยนเจ้าหน้าที่พัสดุบ่อย และควรจัดทำระบบออกเลขครุภัณฑ์เป็นระบบบาร์โค๊ด 3) ด้านการจำหน่ายพัสดุ ควรสำรวจพัสดุที่ชำรุดเสื่อมสภาพอย่างจริงจังและจำหน่ายออก โดยการจำหน่ายพัสดุควรมากกว่าปีละ 1 ครั้ง และรวบรวมพัสดุที่ชำรุดรอการจำหน่ายไว้ที่เดียวกัน คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนา, ปัญหาการบริหารงานพัสดุ

 

Problems and Development Guidelines on Material Administration for Material Officials in Naresuan University

The purposes of this research are to investigate the problems of material administration in Naresuan University and to determine guidelines for material officials. The material administration consists of three aspects; material supply management: procurement, control and distribution. The data for this study were collected from 102 material officials who worked for Naresuan University in 2012. The respondents of the study consisted of four groups; educational support, social science, science Technology and health science. The research tool was questionnaire and the analytical tools in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and context analysis.

The results show that:

Firstly, the average level of the material administration problems as a whole picture and each aspect was medium, consecutively from maximum to minimum as the following. 1) Material supply; the procurement of material were too complex. There were too many computer programs involving the process and which caused confusing and delayed. 2) Control of material; moving material without informing the related officials caused loss of material. 3) Distribution of material; there were inadequate store for decayed material

Secondly, guidelines and development of material administration suggested by material officials were; 1) Material supply; the procurement of material should be minimized, reduce the paperwork. Agencies should have a clear plan; the program of work for less; training should include the parcel to procurement for new officials. 2) Material control; guidelines on distribution should be provided; identifying time of borrowing and returning material should be made; and the writing form should be provided for users to inform the procurement officials when moving supplies; the material officials should not be changed too often; and the system for barcode should be made out of a durable barcode number. 3) Material distribution; examining material should be done seriously and distributing; disposal of material should be done more than once a year; and decayed material should be collected in the same place.

Downloads

How to Cite

วงศ์ประสงค์ชัย อ., วงศ์วัฒนา ส., & จิตต์การุญ ผ. (2016). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุ มหาวิทยาลัยนเรศวร. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 7(1), 139–148. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55516