การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยชุมชนบ้านหวาย ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • Wittakan Sarasaen สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • Sumattana Glangkarn คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • Jiraporn Worawong วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการมูลฝอย, มูลฝอยชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยชุมชนบ้านหวาย ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ศึกษาในประชากรที่เป็นผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 78 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการเรียบเรียง วิเคราะห์และสรุปเนื้อหาผลการศึกษา มีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ
1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกต 4) การสะท้อนกลับ ผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวแทนครัวเรือน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.30 มีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย อยู่ในระดับมากและปานกลาง ร้อยละ 46.20 เท่ากัน 2) กระบวนการดำเนินงานส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจสถานการณ์และสภาพปัญหามูลฝอยชุมชนร่วมกันกำหนดแผนงานโครงการ เพื่อพัฒนาการจัดการมูลฝอยชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม 3) จากกระบวนการดังกล่าวทำให้ได้รูปแบบการจัดการมูลฝอยชุมชน คือ รูปแบบการจัดการมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย ภาคประชาชน ภาคองค์กรส่วนท้องถิ่น และภาคหน่วยบริการด้านสุขภาพ โดยภาคีเครือข่ายต้องทำงานร่วมกันและพร้อมขับเคลื่อนนโยบายของชุมชน 4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ ภาคีเครือข่ายสามารถสนับสนุนกิจกรรมหรือโครงการในชุมชนได้ตามศักยภาพและบทบาทหน้าที่ของตนเอง ดังนั้นควรมีการศึกษากลวิธีเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนและให้ชุมชนมีการจัดการมูลฝอยอย่างถูกต้อง ตลอดจนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์ในชุมชนต่อไป

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.

กรรณิการ์ ชูขันธ์. (2554). การศึกษาระบบการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ชไมกาญจน์ อภิบุญอำไพ. (2552). การมีส่วนร่วมของภาคีประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชนกรณีศึกษาเทศบาลตำบลคลองไผ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม. (2558). แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2558-2562. มหาสารคาม: สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม.

สุรพล ดำรงกิตติกุล, นพวรรณ บุญธรรม, และสมหมาย สารมารท. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนของชุมชน ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

องค์การบริหารส่วนตำบลนาสีนวน. (2558). แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2558-2560. มหาสารคาม: องค์การบริหารส่วนตำบลนาสีนวน.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1988). The action research reader (3rd ed.). Geelong, Victoria: Deakin University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-04-2018

How to Cite

Sarasaen, W., Glangkarn, S., & Worawong, J. (2018). การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยชุมชนบ้านหวาย ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(2), 564–580. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/103269