การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • Wanlee Saksuwan สาขาวิชาเทคโนโลยีและวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • Kannanut Haopan สาขาวิชาเทคโนโลยีและวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • Thanadech Saksuwan สาขาวิชาเทคโนโลยีและวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • Anu Jarernvongrayab คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความรู้ด้านเทคโนโลยี เป็นปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบแบบ Principal Axis Factoring และใช้การหมุนแกนแบบ Promax ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวัดความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถแบ่งได้เป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ระบบปฏิบัติการพื้นฐานและการเลือกใช้งาน องค์ประกอบที่ 2 หน้าที่ของอุปกรณ์พื้นฐานทางเทคโนโลยี องค์ประกอบที่ 3 หลักการทำงานเบื้องต้นและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบที่ 4 การดูแลและรักษาส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และองค์ประกอบที่ 5 การนำเสนอข้อมูลและการใช้งานคอมพิวเตอร์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิวาพร ชาญธัญกรรม. (2550). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงธนบุรี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล. (2560). การใช้กระดาน IWB ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการแบบเปิดตามแนวคิด Bansho. วารสารครุพิบูล, 4(2), 59-74.

อนุ เจริญวงศ์ระยับ. (2560). อิทธิพลของผู้ตอบต่อโครงสร้างองค์ประกอบของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 53-60.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Kenny, D. A. (1998). Multiple factor models. Retrieved from www.davidkenny.net/cm/mfactor.htm.

Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using multivariate statistics. Boston: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-03-2019

How to Cite

Saksuwan, W., Haopan, K., Saksuwan, T., & Jarernvongrayab, A. (2019). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(2), 428–437. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/112408