กลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, โรงเรียนขนาดกลางบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนากลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ แหล่งข้อมูล คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จำนวน 22 คน วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างกลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือในการวิจัย คือแนวคำถามเชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยสัมภาษณ์ด้วยตนเอง แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สร้างข้อสรุป 2) การพัฒนากลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าทางสถิติโดยการหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่ากลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เต็มตามศักยภาพ ประกอบด้วย 13 กิจกรรม กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมครูให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ ประกอบด้วย 10 กิจกรรม กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริมผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความสามารถเต็มตามบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย 15 กิจกรรม กลยุทธ์ที่ 4 การนิเทศภายในและภายนอกที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 7 กิจกรรม และกลยุทธ์ที่ 5 การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย ประกอบด้วย 8 กิจกรรม โดยทุกกลยุทธ์และทุกกิจกรรมมีความสอดคล้องกันระหว่างฉันทามติ มีค่ามัธยฐาน ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ไม่เกิน 1.50
References
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม. (2555). การวิจัยด้วยวิธีเดลฟาย : การใช้มติสอดคล้องโดยเสียงข้างมาก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, (7)18, 1-14.
นิติพงษ์ แก้วกัลยา. (2556). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในโรงเรียนประถมศึกษากลุ่มสถานศึกษาที่ 15 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ปนัดดา หัสปราบ. (2557). แนวทางการนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ : การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุนิสา วิทยานุกรณ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สุรดา ไชยสงคราม. (2555). กลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สรรคุณค่าวิทยา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (2557). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2556. ขอนแก่น: ประมวล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อโนทัย แทนสวัสดิ์. (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม