แนวทางการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย
คำสำคัญ:
สภาพคล่องทางการเงิน, การเติบโตที่ยั่งยืน, การเรียนรู้และพัฒนา, นวัตกรรม, แบบจำลองสมการโครงสร้างบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างแนวทางการบริหารสภาพคล่องในธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย ดำเนินการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และผู้บริหารที่รับผิดชอบกำกับดูแลด้านการเงิน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบในการพัฒนาแนวทางการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย จำแนกได้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านเสถียรภาพ ด้านเพิ่มพูนความรู้และยกระดับ ด้านกระบวนการ ด้านความร่วมมือและประสานงาน และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และระดับความสำคัญของปัจจัยในการพัฒนาแนวทางการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย ทั้งภาพรวม และรายด้านมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกตามขนาดของธุรกิจ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ตัวแบบจำลองสมการโครงสร้างพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติประเมินความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้าง ค่าความน่าจะเป็นของไคสแควร์ (Chi-Square Probability Level) เท่ากับ 0.079 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (Relative Chi-Square) เท่ากับ 1.143 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (Goodness of fit Index) เท่ากับ 0.959 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน (Root Mean Square Error of Approximation) เท่ากับ 0.017
References
จิรพร สุเมธีประสิทธิ์, มัทธนา พิพิธเนาวรัตน์ และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.
รัญชนา พงศาปาน. (2555). ศาสตร์แห่งการบริหารสภาพคล่อง. BOT พระสยาม Magazine, 35(4), 26-27.
สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2559). การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 281-303.
Ashmarinaa, I. S., Zotovaa, A. S., & Smolin, A. S. (2016). Implementation of Financial Sustainability in Organizations through Valuation of Financial Leverage Effect in Russian Practice of Financial Management. International Journal of Environmental and Science Education, 11(10), 3775-3782.
Arbuckle, J. L. (2011). IBM SPSS Amos 20 user’s guide. New York: IBM.
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.
Feng, F. Z., Lu, J., & Wang. J. (2016). Productivity and liquidity management under costly financing. U.S.A.: The University of Notre Dame.
Gunasekaran, A., Papadopoulosb, T., Dubeyc, R., Wambad, S. F., Childee, S. J., Hazenf, B., & Akterg, S. (2017). Big Data and Predictive Analytics for Supply Chain and Organizational Performance. Journal of Business Research, 70, 308-317.
Konak, F., & Guner. E., N. (2016). The Impact of Working Capital Management on Firm Performance: An Empirical Evidence from the BIST SME Industrial Index. International Journal of Trade, Economics and Finance, 7(2), 38-43.
Kouvelis, P., Dong, L., & Turcic, D. (2017). Supply Chain Finance. Foundations and Trends R in Technology. Information and Operations Management, 10(4), 248-288.
Kiel, D., Müller, J., Arnold, C., & Voigt, K. (2017). Sustainable Industrial Value Creation: Benefits and Challenges of Industry 4.0. [rewarded with ISPIM Best Student Paper Award]. In Conference: International Society for Professional Innovation Management (ISPIM) (p. 18-21). Vienna: Austria.
Mathuva, D. M. (2010). The influence of working capital management components on corporate profitability: Asurvey on Kenyan listed firms. Reserch Journal of Business Management, 4(1), 1-11.
Staniewski, M. W. (2016). The Contribution of Business Experience and Knowledge to Successful Entrepreneurship. Poland: University of Finance and Management.
Wheelen, L. T., & Hunger, D. J. (2012). Strategy management and business policy (13th ed.). America: United States.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม