การศึกษาทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางจากสมุนไพรของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเขตจังหวัดพิษณุโลก เพื่อเจาะตลาดในกลุ่มลูกค้าใหม่

ผู้แต่ง

  • เพชรายุทธ แซ่หลี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วชิระ วิจิตรพงษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • หทัยธนก พวงแย้ม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2021.37

คำสำคัญ:

เครื่องสำอางสมุนไพร, แบบจำลองโลจิต, การตัดสินใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางสมุนไพร โดยใช้แบบจำลองโลจิต เพื่อช่วยในการทำนายการตัดสินใจ และเสนอแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเขตจังหวัดพิษณุโลก จากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษานิยมซื้อเครื่องสำอางจากซื้อจากห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ โดยจะใช้เงินซื้อเครื่องสำอาง 501–1,000 บาทต่อเดือน นักศึกษาส่วนใหญ่เคยใช้เครื่องสำอางสมุนไพรมาก่อน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของนักศึกษามากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ โดยต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและมีการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ผลจากการใช้แบบจำลองโลจิตพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเลือกซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรมากที่สุด คือ เพศ ประสบการณ์ในการใช้เครื่องสำอางสมุนไพร และสถานศึกษา ตามลำดับ ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินของกลุ่มนักศึกษามากที่สุด คือ เลขที่ใบรับแจ้งของเครื่องสำอาง ลักษณะแบรนด์ ลักษณะบรรจุภัณฑ์และโปรโมชัน ตามลำดับ สามารถใช้แบบจำลองโลจิตที่ได้ช่วยในการทำนายการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของกลุ่มนักศึกษาได้ โดยมีค่าการทำนายถูกเท่ากับ 77.65%

References

จริยาวรรณ ขาวสุด. (2552). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

จุฑามาศ เฟื่องโชติการ, ลัสดา ยาวิละ, และรัตนา สิทธิอ่วม. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าบนสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(1), 212-228.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา. (2560). ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อเครื่องสำอางตราสินค้าไทยของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25), 164-171.

พิมพร ลีลาพรพิสิฐ. (2547). เครื่องสำอางธรรมชาติ : ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหนัง (Natural cosmetics : products for skin). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

รัฐศักดิ์ พลสิงห์. (2553, 31 สิงหาคม). สมุนไพรไทยมีดีกว่าที่คิด. กสิกร, น. 24.

ศมพร เพ็งพิศ. (2552). ปัจจัยทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์, และองอาจ ปทะวานิช. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2554). รายงานการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC): กลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

สำนักข่าวไทย. (2558). เครื่องสำอางไทยพร้อมลุยจีน-อาเซียน. สืบค้น 23 กันยายน 2561, จาก https://www.youtube.com/watch?v=rp4VnHIjVRM

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุพฤกษา ท่าสระ. (2552). พฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางสมุนไพรของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุรีพร มิลิวงศ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(2), 103-117.

Aaker, D. A. (1991). Building strong brands. New York: Free press.

MGR Online. (2558). ทำไม? คนไทยไม่นิยมเครื่องสำอาง "สมุนไพรไทย". สืบค้น 23 กันยายน 2561, จาก https://mgronline.com/science/detail/9580000028819

Richards, S. L., & Ben-Akiva, M. (1985). Discrete Choice Analysis: Theory and Application to Travel Demand. Cambridge, MA: The MIT Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-07-2021

How to Cite

แซ่หลี เ. ., วิจิตรพงษา ว. ., & พวงแย้ม ห. . (2021). การศึกษาทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางจากสมุนไพรของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเขตจังหวัดพิษณุโลก เพื่อเจาะตลาดในกลุ่มลูกค้าใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 483–501. https://doi.org/10.14456/psruhss.2021.37