ผลกระทบของสมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายใน ที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Saowanee Wimuktayon คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • Jeeraporn Pongpanpattana คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • Phaithun Intakhan คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

สมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายใน, การบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบ, ผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายใน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของสมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายในที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 135 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายใน ด้านการวางแผนการตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบ 2) สมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายใน ด้านการรายงานผลการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบ 3) สมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายใน ด้านการติดตามผลมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบ ดังนั้นองค์กรควรส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายใน ในการปฏิบัติงานการสอบทานงานตรวจสอบภายใน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายการตรวจสอบ และช่วยสนับสนุนให้องค์กรประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนต่อไป

References

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นติ้ง.

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ, และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

จีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ. (2558). กลไกการกำกับดูแลกิจการที่ดี และผลการดำเนินงานของกิจการ: บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(8), 67-77.

จุรินทร์ สุนิตย์สกุล. (2551). บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับประสิทธิภาพในการให้บริการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. สืบค้น 19 มีนาคม 2561, จาก https://www.set.or.th/th/company/companylist.html.

ธีราภรณ์ แน่นดี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นอิสระของการตรวจสอบภายในกับการบรรลุเป้าหมายองค์กรของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ระบิล พ้นภัย. (2557). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ความสามารถในการแบ่งบันความรู้ของบุคลากรในองค์กร : ปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณทิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

รัชนิดา โสมะ. (2560). กลยุทธ์การตรวจสอบในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 162-173.

วาสนา อินทร์เจียม. (2549). ศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยของรัฐ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

วิมลวรรณ งามแฉล้ม. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในกับคุณภาพการตรวจสอบภายในของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของเทศบาลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อภิศักดิ์ เจียรสุคนธ์. (2556). ผลกระทบการสอบทานการสอบบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing Research (7th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making (4th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Clarke, T., & Rollo, C. (2001). “Corporate initiatives in Knowledge management.” Education + Training, 4(5), 206-241.

El Sawy, O., & Malhotra, A. (1999). “IT-Intensive Value Innovation in the Electronic Economy: Insights from Marshall Industries”. MIS Quarterly, 23(3), 300-335.

Holliday, C. (2001). “Sustainable Growth, the DuPont Way.” Harvard Business Review, 79(8), 12-134.

Langkhunsaen, S. (2014). Effects of audit Review Proficiency no Audit Goal Achievement of Tax Auditors (TAs) In Thailand (dissertation the degree of Doctor of Philosophy in Accounting). Mahasarakham University, Mahasarakham.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-02-2019