การศึกษาสภาพและความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร
DOI:
https://doi.org/10.14456//psruhss.2021.17คำสำคัญ:
ศิลปะ(ทัศนศิลป์), การจัดการเรียนรู้, ยูเลิร์นนิ่งบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร โดยแบ่งสภาพการจัดการเรียนรู้ออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการเตรียมการสอน 2) ด้านการดำเนินการสอน 3) ด้านการผลิตสื่อการสอน 4) ด้านการวัดและประเมินผล และความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร จำนวน 197 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) โดยมีค่าความตรงของข้อคำถามอยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) มีสภาพการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านการเตรียมการสอน ( = 3.50, S.D. = 0.71) ด้านการผลิตสื่อการสอน (
= 3.33, S.D. = 0.68) ด้านการดำเนินการสอน (
= 3.32, S.D. = 0.69) และด้านการวัดและประเมินผล (
= 3.25, S.D. = 0.74) และความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.42, S.D. = 0.67)
References
นพดล ผู้มีจรรยา. (2557). ระบบการเรียนรู้ภควันตภาพแบบสร้างศักยภาพโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการรับรู้บริบท (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
ปริญญ์ ทนันชัยบุตร. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
พนิดา ทัตตะทองคำ. (2560). ผลการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการวาดภาพสีน้ำโดยใช้การสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.
มหาชาติ อินทโชติ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบยูเลิร์นนิ่งด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
รดา นารถโคษา. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ สาระทัศนศิลป์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สอดแทรกแนวคิดพหุสัมผัส ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
สกนธ์ ภู่งามดี. (2547). การเรียนการสอนวิชาศิลปะกับการพัฒนาเยาวชน. วารสารวิชาการศรีปทุม, 1(1), 31-42.
สมเจตน์ สัตย์กิจขจร. (2557). รูปแบบการเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีการเรียนรู้ร่วมกันที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). วิเคราะห์เด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เอียน สมิธ และอนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2550). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ Facilitating Student – Centered Learning. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(2), 1-10.
Chen, Y. S., Kao, T. C., Sheu, J. P., & Chiang, C. Y. (2002). A Mobile Scaffolding-Aid-Based Bird-Watching Learning System. Proceeding of IEEE International Workshop on Wireless and Mobile Technologies in Education #WMTE’02#, pp. 15-22, IEEE Computer Society Press.
Fraser, J. (2005). U-Learning=E-Learning+M-Learning. Peninsula School of Information Technology Monash University, Australia.
Hwang, G-J. (2007). “Ubiquitous Computing Technology in Education”. Journal of Distance Education Technology, 3(5), 116-120.
Siemens, G. (2005a). Connectivism: Alearning theory for the digital age. INTERNATIONAL journal of instructional technology and distance learning, 2(1), 3-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม