ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง รองรับโครงการ Smart Farmer

ผู้แต่ง

  • ฑัตษภร ศรีสุข คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • สุบิน แก้วเต็ม สำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คำสำคัญ:

ห่วงโซ่คุณค่า, ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป, การตลาด, Smart Farmer

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณปี พ.ศ.2562 มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมการในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง รองรับโครงการสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) และเพื่อเสนอแนวทางการดำเนินกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปางภายใต้นโยบายผลักดันเกษตรกรก้าวสู่การเป็น Smart Farmer เป็นการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) ที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างคณะผู้วิจัย สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยเนชั่น และเกษตรกรกลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเริ่มจากการคัดเลือกเกษตรกรกลุ่มเกษตรแปรรูปจำนวน 26 กลุ่ม เป็นกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” และคัดเลือกให้เหลือเฉพาะกลุ่มที่มีความพร้อมเข้าสู่กระบวนการพัฒนาทักษะด้านการตลาดเชิงลึกตามแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ถึงปลายทาง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop Training) ร่วมกับการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรกลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปในจังหวัดลำปางที่ได้รับคัดเลือกตั้งแต่เริ่มโครงการวิจัย มี 1 กลุ่มที่ยกเลิกกิจการ จึงเหลือเพียง 25 กลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป กลุ่มวิสาหกิจผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และกลุ่มที่เคยเข้าร่วมอบรมเพื่อยกฐานะสู่การ Smart Farmer ต้นแบบ ในโครงการพัฒนาเกษตรกร Smart Farmer ของกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง จากนั้นได้เลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความพร้อมต่อยอดการพัฒนา จำนวน 9 กลุ่ม แต่มีเพียง 6 กลุ่มที่สามารถเข้าสู่กระบวนการพัฒนาทักษะด้านการตลาดในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมตั้งแต่ต้นทางสู่กลางทางและปลายทางโดยใช้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งผลการดำเนินกิจกรรมต้นทาง พบว่า ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์มีปัญหาด้านการจัดการองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์แตกต่างกันไป จึงนำประเด็นปัญหาดังกล่าวมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาต่อยอดด้านการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่สามารถยกระดับเข้าสู่ตลาดได้กว้างขึ้น ต่อมาผลการดำเนินกิจกรรมกลางทาง พบว่า เมื่อผ่านกระบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแล้ว เกษตรกรฯ ทุกกลุ่มมีความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปด้วยวิธีการสร้างแบรนด์ การหาทางเลือกให้ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ที่จะนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายในร้านค้าปลีกสมัยใหม่เพิ่มขึ้น และเมื่อเข้าสู่กิจกรรมปลายทาง พบว่า เกษตรกรฯ ทุกกลุ่มสามารถนำความรู้มาฝึกกำหนดแนวคิดผลิตภัณฑ์ ฝึกถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ด้วยมือถือและโพสต์ขายผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง และสามารถฝึกสร้างเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดและช่องทางสื่อสารการตลาดออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตนเองได้

References

กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์. (2561). แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก กรณีศึกษาพืชสับปะรด. ระยอง: สยามอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร.

ขวัญฤทัย เทพพิทักษ์. (2559). ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจส่งออกผลไม้แปรรูปของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพ.

ฐิติมา วงศ์อินตา, ปนัดดา กสิกิจวิวัฒน์, ฮุซเซ็น นิยมเดชา, บุณฑรี จันทร์กลับ, โรสลาวาตี โตะแอ. (2558). การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าอาหารฮาลาล. วารสารการขนส่งและโลจิสติกส์, 8(1), 1-11.

วีระเดช นารินทร์ และเพ็ญณี แนรอท. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกร: กรณีศึกษาเครือข่ายเกษตรยั่งยืนตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 7 (1), 1-12.

ศักดิ์นรินทร์ แก่นกล้า. (2559). ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่,มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ใน รายงานการประชุมวิชาการ (PROCEEDINS) การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ด้าน “การวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงแรมเดอะรอยัล ริเวอร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แนวโน้มอุตสาหกรรมและขนาดตลาดของธุรกิจแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. สืบค้น 30 มิถุนายน 2561, จาก http:// bsid.dip.go.th/en/category/quality-control/qs-businessagriculture.

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

_______. (2011). Marketing management. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Porter, M. E. (1985). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance: with a new introduction. New York: Free Press.

_______. (1998). Competitive Strategy: Techniques for analyzing industries and competitions: with a new introduction. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-07-2020

How to Cite

ศรีสุข ฑ. ., หิรัญวิจิตรภรณ์ น., & แก้วเต็ม ส. . (2020). ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง รองรับโครงการ Smart Farmer. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(2), 505–521. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/239537