ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนิสิต สาขาวิชาภาษาไทยในรายวิชาวรรณกรรมกับสังคม
DOI:
https://doi.org/10.14456/psruhss.2021.23คำสำคัญ:
การคิดวิเคราะห์, กระบวนการกลุ่ม, วรรณกรรมกับสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการกลุ่มที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทยในรายวิชาวรรณกรรมกับสังคม 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมกลุ่มของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทยจากการใช้กระบวนการกลุ่มในรายวิชาวรรณกรรมกับสังคม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทยต่อการใช้กระบวนการกลุ่มในรายวิชาวรรณกรรมกับสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 68 คน แบ่งเป็น กลุ่มการเรียนที่ 1 จำนวน 32 คน และกลุ่มการเรียน
ที่ 2 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้กระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (f) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระ (t-test dependent) ผลการศึกษาพบว่า นิสิตสาขาวิชาภาษาไทย มีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหลังใช้กระบวนการกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นิสิตสาขาวิชาภาษาไทยมีพฤติกรรมกลุ่มจากการใช้กระบวนการกลุ่มอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (
= 2.57) (S.D. = 0.41) มีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังการใช้กระบวนการกลุ่มร้อยละ 77.78 และนิสิตสาขาวิชาภาษาไทยมีความพึงพอใจต่อการใช้กระบวนการกลุ่มอยู่ในระดับมาก (
= 4.30) (S.D. = 0.58)
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
ทรงภพ ขุนมธุรส. (2561). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 208232 วรรณกรรมกับสังคม. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทวรรณ แก้วโชติ. (2560). เอกสารการจัดการเรียนรู้ (Learning Management). สงขลา: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2554). ทักษะ 5C เพื่อการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนา พรมภาพ. (2551). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2550. พิษณุโลก: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุชาดา ปิติพร. (2559). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ในวิชาภาษาไทย (สาระที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม) โดยใช้กระบวนการกลุ่ม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, และญาณพินิจ วชิรสุรงค์. (2559). แนววิธีการพยากรณ์พฤติกรรมของมนุษย์ใน “พลวัตกลุ่ม” (Group Dynamics) ของ Kurt Lewin แห่ง M.I.T. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(23), 111-118.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อาร์ม โพธิ์พัฒน์. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมเขียนแผนผังมโนมติ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุษา ไชยชนะ. (2550). ผลการใช้วิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะชีวิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม