การพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน และท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเตรียมความพร้อม เข้าสู่ประชาคมอาเซียน
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพ, ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ, กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก และ 3) เพื่อวิเคราะห์ทักษะและความสามารถของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลกในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเบื้องต้น ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 34.75 2) การพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจความต้องการในการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นมีความต้องการในการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาเอกสารประกอบการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นตอนที่ 3 การจัดดำเนินการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ใช้วิธีการสอน 3 วิธี คือ การนำเสนอเนื้อหา การฝึกปฏิบัติ และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และขั้นตอนที่ 4 การประเมินการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ 3) ทักษะและความสามารถของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเบื้องต้นหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ 2555-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร, ชิดชนก เชิงเชาว์ และเกษตรชัย และหีม. (2560). โครงการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 24-36.
ธุวพร ตันตระกูล. (2555). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้บทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นพพร สโรบล. (2556). ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุทธศักดิ์ ศุภสร. (2560). รายงานประจำปี 2560 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
เสาวภา วิชาดี. (2554). เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนด้วยความเป็นเลิศทางภาษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26(78), 141-150.
วราพร พูลเกษ. (2552). การพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและ ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของจังหวัดกาฬสินธุ์ (รายงานผลการวิจัย). กาฬสินธุ์: คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
วิสุทธิชัย ไชยสิทธิ์. (2556). การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม: กรณีศึกษา นิสิตสาขาภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
อนุชิต ฮุนสวัสดิกุล. (2543). กระบวนการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานข้าราชการพลเรือน.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2562). การวัดผลและประเมินผลการศึกษาแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gower, R., & Walters, S. (1983). Teaching Practice Handbook. London: Heinemann Educational Book.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม