รูปแบบการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักบวร เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านคลองเตย ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
DOI:
https://doi.org/10.14456/psruhss.2021.38คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนา, กระบวนการมีส่วนร่วม, การขับเคลื่อนหลักบวร, สร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัญหาในการขับเคลื่อนหลักบวรเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนหลักบวรเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักบวรเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านคลองเตย ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากตารางสำเร็จรูปของ “Taro Yamane” ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และนำมาวิเคราะห์ หาค่าสถิติ ได้แก่
หาจำนวน ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สำรวจสภาพปัญหาในการขับเคลื่อนหลักบวรเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน พบว่า สภาพปัญหาด้านผู้นำที่ประชาชนสะท้อนมุมมองในลำดับต้น ๆ คือ สภาพปัญหาด้านผู้นำวัด รองลงมาคือ สภาพปัญหาด้านผู้นำหมู่บ้าน และสภาพปัญหาด้านผู้นำโรงเรียน ตามลำดับ ส่วนสภาพปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ประชาชนสะท้อนมุมมองในลำดับต้น ๆ คือ สภาพปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางศาสนา รองลงมาคือ สภาพปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมของชุมชน และสภาพปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมของโรงเรียน ตามลำดับ สำหรับสภาพปัญหาด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนหลักบวรเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน พบว่า ไม่มีปัญหา 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนหลักบวรเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน ทั้งหมด 5 ด้าน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมด้านการรับข้อมูลข่าวสาร และรองลงมาตามลำดับ คือ การมีส่วนร่วมด้านการแสดงความคิดเห็นและร่วมวางแผน การมีส่วนร่วมด้านการดำเนินการและตัดสินใจ การมีส่วนร่วมด้านการรับผลประโยชน์ร่วมกัน และการมีส่วนร่วมด้านการติดตามและประเมินผล และ 3) รูปแบบการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักบวรเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน พบว่า หัวใจสำคัญที่สุดคือ บทบาทผู้นำตามหลักบวร ทั้งผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำวัด และผู้นำโรงเรียน ทุนภายในชุมชน ทั้งปราชญ์ชาวบ้าน วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นตัวถักร้อยเชื่อมโยงคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมให้ชุมชนเข้มแข็งแบบภาคประชาสังคม ไม่ว่าจะเป็นมิติของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักบวร ทั้งด้านการรับข้อมูลข่าวสาร ด้านการแสดงความคิดเห็นและร่วมวางแผน ด้านการดำเนินการและตัดสินใจ ด้านการติดตามและประเมินผล และด้านการรับผลประโยชน์ร่วมกัน ที่สำคัญคือ การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ การเป็นชุมชนที่มีการจัดการตนเอง การเป็นชุมชนที่มี จิตวิญญาณ และการเป็นชุมชนที่มีสันติภาพ กล่าวคือ เป็นชุมชนที่มีความสงบสุขและคนในชุมชนมีจิตใจที่ดีงาม มีคุณภาพ และมีคุณธรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนในที่สุด
References
กันยารัตน์ แย้มศรีแก้ว. (2558). การบริหารจัดการความร่วมมือของ บ้าน วัด โรงเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
ปกรณ์เทพ พจี. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาหมู่บ้านเมืองบางจังหวัดหนองคาย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปาริชาติ วลัยเสถียร, พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น, สหัทยา วิเศษ, จันทนา เบญจทรัพย์, ชลกาญจน์ ฮาซันนารี. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอน 100 ก. หน้า 1-15.
พระวัฒธยา ฐิติสมฺปนฺโน. (2560). ความร่วมมือของบ้าน วัด และโรงเรียนในการพัฒนาสังคม ตำบลเจริญธรรม อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภูวณัฐสร์ หนูมาก. (2549). กระบวนการการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ต่อการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร, ทิพย์ลัดดา ชานิกุล, และยุมรี ศรีสุรัตน์. (2559). กระบวนการประชาสังคม “บวร” หลักในการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2559 ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงแรมริชมอนด์-สไตล์ลิช คอนเวนชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
Best, J. W. (1970). Research in Education. Boston, M.A.: Allyn & Bacon.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม